บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในประสิทธิภาพการบริหารงานตามหลักหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๓๗๘ คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ(Percentage), และค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมุติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One-Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ประสิทธิภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล
เทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = ๒.๙๒) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านหลักนิติธรรม อยู่ในระดับปานกลาง ( = ๒.๙๙) ด้านหลักคุณธรรม อยู่ในระดับปานกลาง ( =๒.๙๖) ด้านหลักความโปรงใส อยู่ในระดับปานกลาง ( =๒.๘๙) ด้านหลักการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับปานกลาง ( = ๒.๙๐) ด้านหลักความรับผิดชอบ อยู่ในระดับปานกลาง
( =๒.๙๒) และด้านหลักความคุ้มค่า อยู่ในระดับปานกลาง ( = ๒.๘๘)
๒. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ และจำนวนปีที่อาศัย พบว่าประชาชนมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงปฏิเสธสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนระดับการศึกษาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่าประชาชนมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
๓. ข้อเสนอแนะองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษาควรมีการสรุปผลการดำเนินการและนำเสนอต่อสาธารณะอยู่ตลอดและต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือหน่วยงานภายนอกได้มามีส่วนร่วมในการติดตามแผนงานและโครงการต่างๆ อยู่ตลอดและควรมีการเผยแพร่ผลการดำเนินงานและข้อมูลต่างๆผ่านทางช่องทางอิเล็คทรอนิคส์ ได้แก่ เว็บไซต์และสังคมออนไลน์ ควรเปิดช่องทางให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจ และให้มีการทำประชาพิจารณ์ในการออกข้อบังคับหรือข้อบัญญัติขององค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษาก่อนที่จะมีผลบังคับใช้กับชุมชน/หมู่บ้านและองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินผลงาน
ดาวน์โหลด |