บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของสารนิพนธ์นี้ เพื่อศึกษาความหมายของความว่าง (สุญญตา) ในพระไตรปิฏก ความหมายของความว่าง (สุญญตา) ในทรรศนะของพุทธทาสภิกขุ และการประยุกต์ใช้ความว่าง (สุญญตา) ในชีวิตประจำวัน พุทธทาสภิกขุ ได้แปลความหมายความว่าง (สุญญตา) ว่าจิตว่าง และได้เน้นย้ำการทำงานด้วยจิตว่างในชีวิตประจำวัน
ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า การแปลความหมายของความว่าง (สุญญตา) ในทรรศนะของพุทธทาสภิกขุ ตรงกับความหมายของความว่างในบริบทของอนัตตาหรือความไม่มีตัวตน ซึ่งเป็นความหมายของความว่างบริบทหนึ่งในสามบริบทของความหมายของความว่างที่มีมาในพระไตรปิฏก จากคำอธิบายเรื่องความว่างในพระไตรปิฎกซึ่งกล่าวถึงในจูฬสุญญตาสูตร มหาสุญญตาสูตร และสุญญสูตรนั้น จะพบแนวคิดเรื่องความว่างใน ๓ บริบทด้วยกัน บริบทแรกคือสุญญตวิหาร บริบทที่สองคือความไม่มีตัวตนหรืออนัตตา และบริบทที่สามคือความมีสติรู้ตัวปล่อยวาง ด้วยความเข้าใจชัดเจนในบริบททั้งสามของความว่างในพระไตรปิฏกเช่นเดียวกับความหมายของจิตว่างในทรรศนะของพุทธทาสภิกขุ เราจะสามารถประยุกต์ใช้ความว่าง (สุญญตา) ตามความหมายในพระไตรปิฏกและทรรศนะของพุทธทาสภิกขุ ในการทำงานและกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ดาวน์โหลด |