หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูพิพิธธรรมาภรณ์ (บุญแทน ศรีทอง)
 
เข้าชม : ๑๙๙๕๖ ครั้ง
การปรูะยุกต์ใช้พุทธวิธีทางการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จังหวัดพิจิตร
ชื่อผู้วิจัย : พระครูพิพิธธรรมาภรณ์ (บุญแทน ศรีทอง) ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๐/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิ รเมธี,ดร. ปธ.๙,พธ.บ.,ศษ.บ.,อ.ม.,กศ.ด.
  ผศ.ดร.วรกฤต เถื่อนช้าง ป.ธ.๙, ศษ.บ. ,ศศ.ม.,ปร.ด. (บริหารอุดมศึกษา)
  .
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เปนการประยุกต์ใช้พุทธวิธีทางการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จังหวัดพิจิตร  เพื่อเปนแนวทางที่จะนํามาใชในการเรียนการสอนของสังคมไทยปจจุบัน     ไดกําหนดวัตถุประสงคไว ๓ ประการคือ  ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการสอนทั่วไป    ๒) เพื่อศึกษาการใช้พุทธวิธีทางการสอนของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา  ๓)  เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้พุทธวิธีทางการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จังหวัดพิจิตร

ผลการศึกษาทฤษฏีและแนวคิด สรุปวาการสอน" หมายถึง บอกวิชาความรู้ให้ แสดงให้เข้าใจโดยบอกวิธีหรือให้ทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง คนส่วนใหญ่จึงเข้าใจว่าการสอน คือการถ่ายทอดความรู้โดยการบอก อธิบายขยายความให้เข้าใจ ครูจึงเป็นผู้รู้ เป็นผู้มีประสบการณ์เหนือกว้าผู้เรียน แต่นักวิชาการ อธิบายความหมายของการสอนไว้ว่า เป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามที่คาดหวัง จากไม่รู้เป็นผู้มีความรู้ มีความเข้าใจ จากที่ทำไม่ได้หรือทำไม่เป็น เป็นผู้ทำได้ทำเป็น เป็นต้น

ผลการศึกษาที่เปนการวิจัยเชิงเอกสารคนควาจากคัมภีรพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวของ ไดพบวา ก่อนแสดงธรรมทุกครั้ง พระพุทธเจาทรงเตรียมความพรอมของบุคคลทุกชั้นวรรณะที่ทรง โปรดแสดงธรรม โดยใช้พุทธวิธีทางการสอนสรางแรงจูงใจ  สร้างกำลังใจ  สร้างความร่าเริง  เบิกบาน  ใหเกิดความพรอมทั้งทางานรางกายและจิตใจ ไดแก การสรางความศรัทธาใหบุคคลนั้นๆ หรือคณะนั้นๆ มีตอพระองค คําพูดที่โนมน้าวใจ การแสดง ปาฏิหารย สื่อการสอน  การอุปมาเปรียบเทียบ นิทานชาดกตางๆ และการแสดงอนุปุพพิกถา

หลักการประยุกตใชพุทธวิธีทางการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน  หมายถึงพระสอนศีลธรรม  นำเอาพุทธวิธีทางการสอนของพระพุทธเจ้า  ทั้ง ๔  ด้านมาใช้  ในการสอนธรรม  หรือการเรียนการสอนทั่วไป  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ ในเนื้อหาของบทเรียน  ด้วยพุทธวิธีสันทัสสนา  เพื่อให้ผู้เรียนยอมรับในคุณค่าของบทเรียน และนำไปปฏิบัติใช้  ด้วยพุทธวิธีสมาทปนา  เพื่อให้ผู้เรียนมีกำลังใจ  มีความกระตือรือร้น  ตั้งใจสนใจที่จะเรียน  ด้วยพุทธวิธีสมุตเตชนา  เพื่อให้ผู้เรียนมีความเบิกบาน แช่มชื่น สนุกสนาน ไม่เบื่อหน่ายที่จะเรียน  ด้วยพุทธวิธีสัมปหังสนา

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕