หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระภัทรพงษ์ นิรุตฺติเมธี (มะโนวัน)
 
เข้าชม : ๑๙๙๕๙ ครั้ง
ศึกษาอิทธิพลของพระอุปคุตที่มีต่อสังคมชาวพุทธในล้านนา
ชื่อผู้วิจัย : พระภัทรพงษ์ นิรุตฺติเมธี (มะโนวัน) ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๐/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูศรีรัตนากร, ดร.ป.ธ.๖, พธ.บ.(English),B.A. (Buddhist Studies), M.A. (Philosophy),M.A.(English), Ph.D. (Pali&Buddhist Studies)
  ผศ. ดร. วันชัย พลเมืองดีพธ.บ.(ศาสนา), M.A.(Buddhist Studies), Ph.D.(Buddhist Studies).
  ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ ป.ธ.๙, พธ.บ.(ปรัชญา), M.A. (Philosophy), Ph.D. (Philosophy)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

      อิทธิพลของพระอุปคุตที่มีต่อสังคมชาวพุทธในล้านนาเป็นงานวิทยานิพนธ์ที่มีจุดมุ่งหมาย ๓ ประการ ได้แก่ (๑)  เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพระอุปคุตที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาหลักการและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับพระอุปคุต และ (๓)  เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อและบทบาทของพระอุปคุตที่มีอิทธิพลต่อสังคมชาวพุทธในล้านนา

      ผลกการวิจัยได้พบว่า  พระอุปคุตเถระ ท่านถือกำเนิด มาในตระกูลของพ่อค้าที่เมืองมถุรา
ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำยมุนา  เป็นบุตรคนที่ ๓  มีชื่อว่า
อุปคุต  เมื่อเจริญเป็นหนุ่มได้อุปสมบท ปฏิบัติธรรมจนบรรลุ  พระอุปคุตหลังบรรลุพระอรหันต์ อยู่จำพรรษาที่วัดนฏภฏิกะ  บทบาทของพระอุปคุต ชัดเจนมากขึ้นในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช ปฐมสมโพธิกถาระบุว่า พระอุปคุตได้มอบหมายจากคณะสงฆ์ให้เป็นผู้ทำหน้าที่ป้องกันอันตราย เหตุร้ายในงานสมโภช พระสถูป ๘๔,๐๐๐ องค์ ที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรง   พระอุปคุตได้ปราบพญามารที่มารบกวนงานสมโภชจนหมดพยศ  ทำให้งานฉลองสมโภชสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี   สืบเนื่องจากประวัติที่กล่าวมา นำไปสู่ความเชื่อของขาวพุทธล้านนาว่า พระอุปคุตเป็น พระทรงอภิญญามีฤทธิ์ ที่สามารถป้องกันคุ้มครองให้ปราศจากอันตรายได้ ทำให้เกิดเป็นเครื่องเสริมศรัทธาให้ชาวพุทธล้านนา ได้ทำพิธีอัญเชิญพระอุปคุตมารักษางานฉลองต่าง ๆ เช่นงานปอยหลวง หรืองานเสนาสนะภายในวัด   เพื่อมิให้พญามารหรือความชั่วร้ายอุปสรรคทั้งหลายมารบกวน  ด้านบทบาทของพระอุปคุตที่มีอิทธิพลต่อสังคมชาวพุทธในล้านนา พบว่าพิธีกรรม การบูชาพระอุปคุตเป็นการแสดงให้เห็นลักษณะการมีความร่วมมือกันภายในสังคมกับสถาบันศาสนา   คือภิกษุสงฆ์ในฐานะผู้ปฏิบัติ กับชุมชน ผู้ช่วยเหลือคอยอุปถัมภ์ ซึ่งทั้งสองย่อมได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย และให้ถึงเป้าหมายสูงสุดของชีวิต

 ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕