หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการจรัล อภินนฺโท (สิงห์น้อย)
 
เข้าชม : ๑๙๙๕๖ ครั้ง
การปฏิบัติงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) ของพระสงฆ์ในเขต อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการจรัล อภินนฺโท (สิงห์น้อย) ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๐/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูพิพิธสุตาทร, ดร.ป.ธ.๓, พธ.บ., M.A., M.Phil., Ph.D. (Buddhist Studies)
  ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ ป.ธ.๙, พธ.บ., M.A., Ph.D. (Philosophy)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

ศึกษาวิเคราะห์การปฏิบัติงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) ของพระสงฆ์ ในเขต อำเภอพร้าว  จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิทยานิพนธ์ที่มีจุดมุ่งหมาย ๒ ประการ ได้แก่

๑)  เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) ของพระสงฆ์ในเขตอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

๒)  เพื่อวิเคราะห์บทบาทในการปฏิบัติงาน และแสวงหาแนวทางในการพัฒนาการ ปฏิบัติงานอบรมประชาชนประจำตำบล ของพระสงฆ์ ในเขตอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยการใช้แบบสอบถามประเภทให้ผู้ตอบกรอกแบบสอบถามเอง ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ เจ้าอาวาส สังกัดมหานิกายในเขตอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งได้แก่ วัด ราษฎร์ จำนวน ๗๘ แห่ง และสำนักสงฆ์ ๑๘ แห่ง รวมจำนวน ๙๖ แห่ง และได้นำข้อมูลที่เก็บได้มาวิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละในการอธิบายเชิงพรรณนา 

ผลการวิจัยได้พบว่า ๑) ระดับของบทบาทการปฏิบัติงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล เพื่อช่วยเหลือสังคมของพระสงฆ์ ในการปฏิบัติงานทั้ง ๘ ด้าน 

สรุปภาพรวมของบทบาท ได้ว่า ด้านศีลธรรมและวัฒนธรรม  พบว่า อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ ๓.๙๐ โดยมีระดับการปฏิบัติมากที่สุดคือ จัดโครงการประเพณี เดือนสี่เป็ง(ทานข้าวใหม่) มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ  ๔.๙๑   ด้านสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง  มีค่าเฉลี่ย รวมเท่ากับ ๓.๒๘ โดยมีระดับการปฏิบัติงานมากที่สุด เท่ากับ ๔.๕๕ คือ การปลูกต้นไม้, การบวชป่า, บวชต้นไม้,   เพื่ออนุรักษ์ป่าไม้    ด้านสัมมาชีพ อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย รวมเท่ากับ ๓.๒๘  โดยมีระดับการปฏิบัติงานมากเท่ากับ .๒๙ คือ ส่งเสริมการประกอบอาชีพหลัก เช่น อาชีพเกษตรกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   ด้านสันติสุข อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย รวมเท่ากับ ๔.๓๐ โดยมีระดับการปฏิบัติงานมากที่สุด เท่ากับ .๖๔ คือวัดร่วมกับผู้นำชุมชนจัดประชาคมหมู่บ้านเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน   ด้านศึกษาสงเคราะห์ อยู่ในระดับปานกลาง  มีค่าเฉลี่ย รวมเท่ากับ ๒.๙๔  โดยที่ระดับการปฏิบัติงานมาก เท่ากับ .๓๔ คือมีการมอบทุนการศึกษาแก่พระภิกษุ สามเณรที่สอบผ่าน พระปริยัติในแต่ละชั้น   ด้านสาธารณสงเคราะห์ อยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ ๔.๔๐ โดยมีระดับการปฏิบัติงานมากที่สุดเท่ากับ .๙๑ คือ ร่วมกับประชาชนบูรณปฏิสังขรณ์ ปรับปรุงซ่อมแซมวัด  ด้านกตัญญูกตเวทิตาธรรม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ ๔.๒๗ โดยมีระดับการปฏิบัติงานมากที่สุด เท่ากับ .๘๓ คือ จัดกิจกรรมวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๑๒ สิงหาคม และวันที่ ๕ ธันวาคม ประจำทุกปี   และด้านสามัคคี อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย รวมเท่ากับ ๔.๑๙  โดยระดับการปฏิบัติมากที่สุดเท่ากับ .๘๘ คือ จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามัคคีในชุมชนโดยใช้วัดเป็นศูนย์กลาง

๒) ด้านปัญหา อุปสรรค ในการปฏิบัติงานด้านการอบรมประชาชนในหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล พบว่า  คณะกรรมการมีความเข้าใจนโยบายของ อ.ป.ต. ร้อยละ ๙๙.๐๐ ในขณะที่ไม่เข้าใจมีเพียงร้อยละ ๑.๐๐  ด้านการกำหนดงาน/โครงการในรอบปี พบว่า คณะกรรมการ อ.ป.ต. ได้นำเอาปัญหาของชุมชนมากำหนดเป็นกิจกรรมในรอบปี ถึงร้อยละ ๙๗.๙๒  ด้านงบประมาณ พบว่า กลุ่มพระสงฆ์เห็นว่าระยะเวลาที่ได้รับงบประมาณไม่เหมาะสม ร้อยละ ๖๖.๖๗ และไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน ถึงร้อยละ ๙๐.๖๒ นับว่าเป็นปัญหามากที่สุด ด้านความร่วมมือในการทำงาน พบว่า หน่วยอ.ป.ต.ได้มีการประสานงานกับหน่วยงานที่สนับสนุน ช่วยเหลืองาน อ.ป.ต. โดยได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่ายในพื้นที่ คือ กลุ่มองค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ เรียงตามลำดับดังนี้ ๘๖.๔๖, ๘๔.๓๘ และ ๓๙.๕๘ โดยได้รับความร่วมมือด้านวิชาการมากที่สุด ร้อยละ ๙๕.๘๓

ด้านการติดตามประเมินผล พบว่า กลุ่มพระสงฆ์ทั้งหมดเห็นว่าในรอบปีที่ผ่านมาได้มีการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของหน่วยงาน อ.ป.ต. ทั้งนี้ยังได้มีการรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีด้วย ซึ่งลักษณะของการสรุปงานรายงานผลนั้น กลุ่มพระสงฆ์ส่วนใหญ่เห็นว่าประธานกรรมการจะเป็นผู้สรุปและรายงาน โดยคิดเป็นร้อยละ ๙๖.๘๘  

สรุป ปัญหาและอุปสรรค คือ งบประมาณมีไม่เพียงพอสำหรับการดำเนินงาน ขาดวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินงาน เช่น คอมพิวเตอร์  โปรเจคเตอร์ ช่วงระยะเวลาในการเผยแผ่ธรรมะไม่ตรงกับช่วงระยะเวลาของชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเดียวกับช่วงของการปลูก หรือเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้าน ชาวบ้านบางแห่งขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของ      อ.ป.ต.จึงทำให้ขาดความร่วมมือที่ดี

 ดาวน์โหลด  

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕