วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจระบบการศึกษาของไทยเพื่อหาวิธีพัฒนาระบบการศึกษาไทยให้เป็นไปตามปรัชญาของท่านพุทธทาสภิกขุ ทั้งนี้ ดำเนินการโดยอาศัยการวิจัยเอกสารทั้งที่เป็นงานระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ มีเนื้อหาจะแสดงความเปลี่ยนแปรทางการศึกษาไทยที่ดำเนินไปตลอดช่วงประวัติศาสตร์ การเปลี่ยนแปรนี้บ่งถึงปัญหาบางประการ เช่น ปัญหาด้านรูปแบบการศึกษา ค่านิยมของนักศึกษาและอื่น ๆ เป็นต้น ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยที่มีการปกครองระบอบต่าง ๆ ตามคำสอนของพุทธทาสภิกขุ ระบบการศึกษาที่ถูกต้องสามารถทำให้นักศึกษามีความรู้ ๓ ประเภท ได้แก่ คือ ความรู้ทางวิชาการ (พุทธศาสตร์) ความรู้ทางจริย (ธรรมศาสตร์) และความรู้ทางการอยู่รวมกัน (สังฆศาสตร์) ปรัชญาของท่านพุทธทาส พยายามประสานพุทธธรรมเข้าไปในการศึกษาไทย เพื่อทำให้นักศึกษามีความรู้และความประพฤติที่ถูกต้อง โดยที่พระสงฆ์มักมีบทบาทช่วยสั่งสอนอบรมพุทธศาสนิกชนชาวไทยอยู่เสมอทั้งโดยตรงและโดยอ้อม การศึกษาของพระสงฆ์จึงจำเป็นต้องเดินตามแนวปรัชญาของท่านพุทธทาส และจำเป็นต้องได้รับความสนับสนุนจากรัฐเพิ่มขึ้น พระสงฆ์ผู้มีวินัยอันเคร่งครัดและมีความรู้ทางวิชาการเป็นอย่างดีย่อมเป็นแบบอย่างอันดีต่อสังคมและมีคุณสมบัติเหมาะสมพอที่จะสอนผู้อื่นได้