บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี เขตยานนาวา-สาทรและบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี เขตยานนาวา -สาทรและบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยพื้นฐาน ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและเสนอแนะแนวทางการพัฒนากาจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี เขตยานนาวา- สาทรและบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร ใน ๖ ด้าน โดยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการศึกษาประกอบด้วย นักเรียนจำนวน ๑๐๘ รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test and F-test
ผลการวิจัยพบว่า
๑. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนของครู ทั้ง ๖ ด้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปหาน้อย คือ ๑.ด้านการเรียนการสอน ๒.ด้านหลักสูตร ๓.ด้านการวัดและประเมินผล ๔.ด้านบรรยากาศการเรียนการสอน ๕. ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ๖. ด้านสื่อการเรียนการสอนตามลำดับ
๒. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนของครูจำแนกตามสถานภาพ อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสูงสุดแผนกสามัญ วุฒิการศึกษาสูงสุดแผนกบาลี และภูมิลำเนา โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน
๓. นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคและแนวทางในพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครู ดังนี้ ๑) หลักสูตรมีเนื้อหาเก่าเกินไปทำให้เข้าใจยากไม่เหมาะสมกับผู้เรียนในปัจจุบัน ๒) การจัดการเรียนการสอนของครูขาดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ขาดการสอนแบบบูรณาการทำให้ผู้เรียนเกิดความเครียด ๓) การใช้สื่อการเรียนการสอน ขาดการใช้สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย ๔) กิจกรรมการเรียนการสอน คือ มีกิจกรรมบ้างแต่ไม่คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน ๕) บรรยากาศด้านสิ่งแวดล้อมไม่ดี ไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน ๖) การวัดและประเมินผลยังไม่ชัดเจนและยังขาดการรายงานที่เป็นระบบ
๔. แนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี คือ ๑) ด้านหลักสูตร ควรพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ๒) ด้านการเรียนการสอน ควรให้ความสำคัญแก่นักเรียนและครูสอนและสนับสนุนงบประมาณอย่างจริงจัง ๓) ด้านสื่อการเรียนการสอน ควรซื้ออุปกรณ์และเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ ๔) ด้านกิจกรรมการเรียนการควรกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการเรียน ๕) ด้านบรรยากาศการเรียนการสอน ควรจัดบรรยากาศให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ๖) ด้านการวัดและประเมินผล ควรประชุมคณะครูสรุปผลการประเมินการเรียนการสอน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาร่วมกัน
ดาวน์โหลด |