บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ (๒) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (๓) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรของมหาวิทยาลัยจำนวน ๓๐๐ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามการบริหารงานของมหาวิทยาลัยตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ แบ่งออกเป็น ๓ ตอน คือ ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไปของบุคลากร ตอนที่ ๒ เป็นแบบสอบถามที่มีมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ มีความเชื่อมั่น ๐.๗๕๙ และตอนที่ ๓ เป็นแบบสอบถามปลายเปิดแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวกับการบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
เพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. สถานภาพทั่วไปของบุคลากร พบว่าบุคลากรส่วนใหญ่มีสถานภาพเป็นบรรพชิต จำนวน ๑๒๔ รูป คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๓๓ มีอายุ ๔๐-๔๙ ปี จำนวน ๑๐๖ รูป/คน คิดเป็นร้อยละ ๓๕.๓๓ มีวุฒิการศึกษา ปริญญาโท จำนวน ๑๗๕ รูป/คน คิดเป็นร้อยละ ๕๘.๓๓ มีตำแหน่งหน้าที่อาจารย์ จำนวน ๙๘ รูป/คน คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๖๗ และมีประสบการณ์ ๕ - ๑๐ ปี จำนวน ๑๑๙ รูป/คน คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๖๗
๒. การบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยตามหลัก
สัปปุริสธรรม ๗ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๘๕) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านธัมมัญญุตา (รู้เหตุ, หลักการ, หลักเกณฑ์) ( = ๓.๗๗) ด้านอัตถัญญุตา
(รู้ความหมาย, ความมุ่งหมาย, ผลที่เกิดขึ้น) ( = ๓.๘๘) ด้านอัตตัญญุตา (รู้จักตน, ภาวะ, กำลังความรู้ความสามารถ, ความถนัด, รู้จักแก้ไขปรับปรุง) ( = ๓.๗๗) ด้านมัตตัญญุตา (รู้จักประมาณ, ความพอดี, การใช้จ่าย) ( = ๓.๘๑) ด้านกาลัญญุตา (รู้จักกาล, เวลาอันเหมาะสม, ตรงเวลา, เป็นเวลา) ( = ๓.๘๑) ด้านปริสัญญุตา (รู้จักบริษัท, ชุมชน, ที่ประชุม) ( = ๓.๙๑) และด้านปุคคลัญญุตา (รู้จักบุคคล,ความแตกต่างแห่งบุคคล,การปฏิบัติต่อบุคคล) ( = ๔.๐๐)
๓. การเปรียบเทียบการบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ พบว่าบุคลากรที่มีสถานภาพต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวมไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนบุคลากรที่มีอายุ วุฒิการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
๔. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานของมหาวิทยาลัยตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ด้านธัมมัญญุตา เริ่มจากการคัดสรรคนที่มีความรู้ความสามารถมาร่วมงานกับองค์กร พัฒนาบุคลากรเก่าให้มีความรู้ รวมถึงพัฒนาระบบขององค์กรให้ทันสมัยขึ้น และประชาสัมพันธ์ให้บุคลากร
รู้ถึงเป้าหมายในการบริหารงานของมหาวิทยาลัย ด้านอัตถัญญุตา กำหนดมาตรการทั้งให้คุณให้โทษควบคู่ไปกับแผนการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ด้านอัตตัญญุตา ให้การอบรมบุคลากรทุกระดับชั้น ทั้งความรู้ทางสายงานที่รับผิดชอบ และสอดแทรกทางด้านหลักธรรมไปพร้อมกัน ด้านมัตตัญญุตามีการรณรงค์หรือจัดโครงการ “ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่” ด้านกาลัญญุตา ทุกหน่วยงานต้องจัดทำแผนปฏิบัติการและโครงการให้สอดคล้องกัน ด้านปริสัญญุตา การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ควรให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมมากที่สุด เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะ และเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน พร้อมที่จะเรียนรู้องค์กรมากขึ้น และด้านปุคคลัญญุตา จัดให้มีการประชุมในหน่วยงานบ่อย ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และนำแนวคิดต่าง ๆ ต่อยอดพัฒนาองค์กรต่อไป
ดาวน์โหลด |