บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรักษาเบญจศีลของพุทธศาสนิกชนในชุมชนวัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์ กรุงเทพมหานคร เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีผลต่อการรักษาเบญจศีลของพุทธศาสนิกชนในชุมชนวัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์ และเพื่อศึกษาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีผลต่อการรักษาเบญจศีลของพุทธศาสนิกชนในชุมชนวัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พุทธศาสนิกชนที่อยู่ในบริเวณชุมชนวัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร จำนวน ๑๕๐ คน ในชุมชนของวัด ซึ่งทำการสุ่มจากประชากร โดยวิธีแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าความถี่และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติทดสอบค่าที (t-test) สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance: F-test) และสถิติทดสอบ ไค – สแควร์ (Chi – square test) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์สถิติสำเร็จรูป ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการรักษาเบญจศีลของพุทธศาสนิกชนในชุมชนวัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์ กรุงเทพมหานคร โดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมาก ๔ ข้อ และอยู่ในระดับปานกลาง ๑ ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ศีลข้อที่ ๓ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม รองลงมาได้แก่ ศีลข้อที่ ๒ เว้นจากการลักทรัพย์ ศีลข้อที่ ๑ เว้นจากการฆ่าสัตว์ และศีลข้อที่ ๕ เว้นจากการดื่มสุราเมรัย ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง คือ ศีลข้อที่ ๔ เว้นจากการพูดเท็จ
๒. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลที่ต้องการรับรู้ ข้อมูลข่าวสารที่มีผลต่อการรักษาเบญจศีลของพุทธศาสนิกชนในชุมชนวัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์ กรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ โดยการทดสอบค่าที (t-test) โดยภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อก็พบว่าการรักษาศีลข้อที่ ๓ เว้นจากการประพฤติผิดในกามระหว่างชายและหญิงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
สรุป ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีผลต่อการรักษาเบญจศีลของพุทธศาสนิกชนในชุมชนวัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์ กรุงเทพมหานคร จำแนกตามอายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way Analysis of Variance: ANOVA) พบว่ามีเพียงระดับการศึกษาเท่านั้น ที่ส่งผลต่อการรักษาเบญจศีล ส่วนอายุ อาชีพ รายได้และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชนไม่ส่งผลต่อการรักษาเบญจศีลหรือไม่มีนัยยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๕
ผลการวิเคราะห์การรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีผลต่อการรักษาเบญจศีลของพุทธศาสนิกชนในชุมชนวัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์ กรุงเทพมหานครโดยการทดสอบไคสแควร์ (Chi – square test) สรุปได้ดังนี้
๑) ด้านการรับรู้จากสื่อบุคคล พบว่า ไม่มีผลต่อการรักษาเบญจศีลของพุทธศาสนิกชนในชุมชนวัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๒) ด้านการรับจากสื่อชุมชน พบว่า มีผลต่อการรักษาเบญจศีลของพุทธศาสนิกชนในชุมชนวัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๓) ด้านการรับจากสื่อมวลชน พบว่า ไม่มีผลต่อการรักษาเบญจศีลของพุทธศาสนิกชนในชุมชนวัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
ดาวน์โหลด |