หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระคเณศร์ สุเมโธ (ตันติภิรมย์สิน)
 
เข้าชม : ๑๙๙๕๙ ครั้ง
การรับรู้เรื่องความตายของพุทธศาสนิกชนและคริสต์ศาสนิกชนในเขตสาทร กรุงเทพมหานคร
ชื่อผู้วิจัย : พระคเณศร์ สุเมโธ (ตันติภิรมย์สิน) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเอกภัทร อภิฉนฺโท, ผศ.ดร., พธ.บ.(การสอนสังคม)., พธ.บ.(ภาษาอังกฤษ), M.A., Ph.D.(Psy.)
  ผศ.ดร. เริงชัย หมื่นชนะ, ป.ธ.๗, พ.ม., พธ.บ., M.A., Ph.D. (Psy.)
  ดร. ชัยสิทธิ์ ทองบริสุทธิ์, ป.ธ.๓, พ.ม., พธ.บ., M.A.(Phi) M.A.(App.Psy), Ph.D. (Psy.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๔
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องการรับรู้เรื่องความตายของพุทธศาสนิกชนและคริสต์ศาสนิกชนในเขตสาทร  กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑)  ศึกษาระดับการรับรู้เรื่องความตายของพุทธศาสนิกชนและคริสต์ศาสนิกชนในเขตสาทร กรุงเทพมหานคร ๒)  ศึกษาเปรียบเทียบระดับการรับรู้เรื่องความตายของพุทธศาสนิกชนและคริสต์ศาสนิกชน ในเขตสาทร และ ๓) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เรื่องความตายด้านต่างๆ  

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มุ่งเน้นสำรวจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับรู้ความตายด้านต่างๆ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพุทธศาสนิกชนและคริสต์ศาสนิกชน จำนวน ๑๘๔ คน สถิติที่ใช้ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Coefficient Correlation)

 

๑) ข้อมูลทั่วไป

พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง (๗๑.๗%) อายุต่ำกว่า ๒๐ ปี (๕๖%) โสด (๗๘.๓%) ปริญญาตรี (๕๙.๒%) ไม่มีบุคคลในครอบครัวเสียชีวิต (๔๗.๓%) นับถือศาสนาพุทธ(๕๘.๒%)

 

๒) ระดับการรับรู้เรื่องความตาย

พบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้เรื่องความตาย โดยรวมทุกด้านในระดับมาก(  = ๓.๗๖, S.D. = ๐.๙๖๘) และในแต่ละด้านในระดับมาก ซึ่งสามารถเรียงลำดับการรับรู้เรื่องความตายทั้ง ๔ ด้าน จากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการรับรู้ต่อความเจ็บป่วย (  = ๔.๓๑, S.D. = ๐.๘๒๔ )  ด้านความเชื่อทางศาสนา (  = ๔.๐๙, S.D. = ๑.๐๐ ) ด้านการตระหนักถึงความตาย (  = ๓.๙๒, S.D. = ๙.๙๖ ) ด้านการรับรู้ต่อการสูญเสียชีวิต (  = ๓.๗๕, S.D. = ๑.๐๕๕ )

 

๓) ความแตกต่างความแตกต่างในระดับการรับรู้ จำแนกตามข้อมูลทั่วไป

พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ที่มี ศาสนาที่นับถือ และจำนวนบุคคลในครอบครัวที่เสียชีวิตต่างกัน มีระดับการรับรู้เรื่องความตายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มี  เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา มีระดับการรับรู้เรื่องความตายในแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน

 

๔) สหสัมพันธ์ระหว่างระดับการรับรู้เรื่องความตายด้านต่างๆ

พบว่า การรับรู้เรื่องความตายของกลุ่มตัวอย่าง ด้านความเชื่อทางศาสนา ด้านการตระหนักถึงความตาย ด้านการรับรู้ต่อการสูญเสียชีวิต ด้านการรับรู้ต่อความเจ็บป่วย และโดยรวม ๔ ด้าน มีความสัมพันธ์ลึกซึ้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ ๐.๐๑

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕