หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูเมตตามงคลวิศิษฏ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๗ ครั้ง
ศึกษาความคิดเห็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายต่อบทบาทของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑
ชื่อผู้วิจัย : พระครูเมตตามงคลวิศิษฏ์ ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สมศักดิ์ บุญปู่ ป.ธ.๔,พธ.บ., M.A., Ph.D.
  พระครูสุตกิจบริหาร,ผศ. ป.ธ.๔,พธ.บ., M.A.,
  ผศ.ดร.สิน งามประโคน พธ.บ., M.A., Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๔
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                     การศึกษาเรื่องศึกษาความคิดเห็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายต่อบทบาทของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน  เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑ ครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายต่อบทบาทของครูพระสอนศีลธรรมโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑ และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายต่อบทบาทของครูพระสอนศีลธรรมโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑ จำแนกตามเพศ อายุ และระดับชั้นเรียน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ได้แก่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต  ๓ ในการคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ตารางสำเร็จรูปคำนวณ หาขนาดของกลุ่มตัวอย่างของ (Taro Yamane) ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๓๐๒ คน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าความถี่และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติทดสอบค่าที (t-test)  และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance: F-test) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์สถิติสำเร็จรูป   

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า 

๑.  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายต่อบทบาทของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน  เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑ โดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก                  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน  เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านเทคนิคและวิธีการสอน ตามลำดับ

                        ๒.   ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายต่อบทบาทของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน  เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑ จำแนกตามเพศโดยการทดสอบค่าที (t-test) โดยภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านก็พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ 

                        ๓.  ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายต่อบทบาทของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน  เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑ จำแนกตามอายุและระดับชั้นเรียน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way Analysis of Variance: ANOVA)  สรุปได้ดังนี้

   ๓.๑  จำแนกตามอายุ โดยภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านก็พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

   ๓.๒  จำแนกตามระดับชั้นเรียน โดยภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านก็พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕