บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง การส่งเสริมศีลธรรมจริยธรรมในโรงเรียนมัธยมด่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งเสริมศีลธรรม จริยธรรมโรงเรียนมัธยมศึกษาด่านสำโรง เปรียบเทียบการส่งเสริมศีลธรรมจริยธรรมในโรงเรียนมัธยมด่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพผู้ปกครอง และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการส่งเสริมศีลธรรมจริยธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาด่านสำโรง ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา ๒๕๕๓ จำนวน ๒๕๐ คน สัมภาษณ์ผู้บริหาร และครู จำนวน ๕ คน ได้มาโดยใช้การสุ่มตัวอย่างโดยวิธีแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) ตามตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบสำเร็จรูปของ ของยามาเน่ (Yamane) แบ่งตามสัดส่วนในแต่ละโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าความถี่และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติทดสอบค่าที (t-test) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance: F-test) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์สถิติสำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการส่งเสริมศีลธรรมจริยธรรมในโรงเรียนมัธยมด่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวมทุกด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากและระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คือ ด้านวางตนในสังคม และด้านบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และด้านการพัฒนาตนเอง ตามลำดับ
๒. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการส่งเสริมศีลธรรมจริยธรรมในโรงเรียนมัธยมด่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ จำแนกตามเพศโดยการทดสอบค่าที (t-test) โดยภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านก็พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
๓. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบ การส่งเสริมศีลธรรมจริยธรรมในโรงเรียนมัธยมด่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา อาชีพผู้ปกครอง โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way Analysis of Variance: ANOVA) สรุปได้ดังนี้
๑) จำแนกตามอายุ โดยภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านก็พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
๒) จำแนกตามระดับชั้นเรียน โดยภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่าง ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านก็พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
๓) จำแนกตามอาชีพของผู้ปกครอง โดยภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่าง ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ก็พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
๔) จำแนกตามรายได้ของผู้ปกครอง โดยภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่าง ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ก็พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
ดาวน์โหลด |