บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง ความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการสร้างวินัยของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔ (ปทุมธานี-สระบุรี) ครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการสร้างวินัยของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔ (ปทุมธานี-สระบุรี) และเพื่อเปรียบเทียบแนวทางการสร้างวินัยของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔ (ปทุมธานี-สระบุรี) ตามความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔ (ปทุมธานี-สระบุรี) โดยเจาะจง ๒ โรงเรียน ได้แก่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา และโรงเรียนเทพศิรินทร์คลองสิบสาม ปทุมธานี จำนวน ๑๐๘ คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าความถี่และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติทดสอบค่าที (t-test) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance: F-test) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์สถิติสำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ ความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการสร้างวินัยของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔ (ปทุมธานี-สระบุรี) โดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) พบว่า แนวทางการสร้างวินัยของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔ (ปทุมธานี-สระบุรี) โดยภาพรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก ๑ ด้าน และอยู่ในระดับปานกลาง ๒ ด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการส่งเสริมเรื่องความสะอาด ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการส่งเสริมเรื่องการแต่งกาย และด้านการส่งเสริมเรื่องการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและแนวปฏิบัติของโรงเรียน
๒. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการสร้างวินัยของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔ (ปทุมธานี-สระบุรี) จำแนกตามเพศและสถานศึกษาโดยการทดสอบค่าที (t-test) สรุปผล ได้ ดังนี้
๑) จำแนกตามเพศ โดยภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านก็พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ ๐.๐๕
๒) จำแนกตามสถานศึกษา โดยภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านก็พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ ระดับ๐.๐๕
๓. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการสร้างวินัยของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔ (ปทุมธานี-สระบุรี) จำแนกตามอายุ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) โดยภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการส่งเสริมด้านการแต่งกาย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
ดาวน์โหลด |