บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทัศนคติของครูและนักเรียนที่มีต่อพระภิกษุผู้สอน ในโรงเรียนเขตธนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต ๓ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและนักเรียน จำนวน ๔๐๓ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One-way ANOVA โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
๑. ทัศนคติของครู ที่มีต่อพระภิกษุผู้สอนในโรงเรียนเขตธนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๓ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก ทั้ง ๗ ด้าน เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านบุคลิกภาพ,ด้านการเตรียมการสอน,ด้านการดำเนินการสอน,ด้านการใช้วิธีการสอน,ด้านการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน,ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านการใช้สื่อและอุปกรณ์ในการสอน ตามลำดับ
๒. ทัศนคติของนักเรียน ที่มีต่อพระภิกษุผู้สอนในโรงเรียนเขตธนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๓ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก ทั้ง ๗ ด้าน เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านบุคลิกภาพ, ด้านการเตรียมการสอน,ด้านการดำเนินการสอน,ด้านการใช้สื่อและอุปกรณ์ในการสอน,ด้านการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน,ด้านการใช้วิธีการสอน และด้านการวัดผลและประเมินผล ตามลำดับ
๓. ผลการเปรียบเทียบ ทัศนคติของครูและนักเรียน ที่มีต่อพระภิกษุผู้สอนในโรงเรียนเขตธนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๓ จำแนกตาม เพศ การศึกษาของครูและการศึกษาทางธรรมของนักเรียน พบว่า ไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตาม อายุ และการศึกษาทางโลกของนักเรียน พบว่า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
๔. ผลการเปรียบเทียบ ทัศนคติของครูกับนักเรียน ที่มีต่อพระภิกษุผู้สอนในโรงเรียนเขตธนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๓ พบว่า ในภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าครูกับนักเรียนมีทัศนคติ ไม่แตกต่างกัน ๑ ด้าน คือ ด้านบุคลิกภาพ แตกต่างกัน ๖ ด้าน คือ ด้านการเตรียมการสอน,ด้านการดำเนินการสอน, ด้านการวัดผลและประเมินผล,ด้านการใช้สื่อและอุปกรณ์ในการสอน,ด้านการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน และด้านการใช้วิธีการสอน โดยนักเรียนมีทัศนคติในระดับสูงกว่าครู ทั้ง ๖ ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
ดาวน์โหลด |