หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาธีระพันธ์ อธิปญฺโญ (พวงจิตร)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา กรุงเทพมหานคร
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาธีระพันธ์ อธิปญฺโญ (พวงจิตร) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย ป.ธ.๓, พธ.บ. M.Ed., Ph.D
  พระมหาสมบูรณ์ สุธมฺโม ป.ธ.๗, พธ.บ, พธ.ม.
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุญเลิศ จีรภัทร์ B.A., M.A., พัฒนาการเศรษฐกิจ
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๔
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  พระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูพี่เลี้ยงและนักเรียน จำนวน ๖๔๗ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ๕  ระดับ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และOne-way ANOVA โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

                       ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

                       ๑.  คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  พบว่า มีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านภูมิธรรม ด้านภูมิฐานและด้านภูมิรู้

                       ๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา  ผู้บริหารสถานศึกษาและครูพี่เลี้ยง  เกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพ เพศ  อายุและระดับการศึกษา พบว่า มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ทั้ง ๓ ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

 

 

 

 

                       ๓.  ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียน เกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา เมื่อจำแนกตามเพศ อายุและสถานศึกษา พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกัน ทั้ง ๓ ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันในด้านภูมิรู้  ส่วนด้านภูมิธรรมและด้านภูมิฐาน  ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕