บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องบทบาทของพระสงฆ์ในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธ ศาสนาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต ๒ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาใน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต ๒ และเพื่อศึกษาข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต ๒ โดย วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ที่สอนวิชาพระพุทธศาสนาใน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต ๒ จำนวน ๖ โรงเรียน จำนวน ๑๕๒ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ ๐.๙๗๑ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One.Tway ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least.Significant.Difference:.LSD)
ผลการวิจัยพบว่า
๑.ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นครูผู้สอนจำนวน ๑๔๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๔.๗ มีเพศหญิง จำนวน ๑๐๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๑ มีอายุ ๕๑-๖๐ ปี จำนวน ๖๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๘ มีวุฒิการศึกษาสูงสุดสามัญระดับปริญญาตรี จำนวน ๑๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๓.๗ มีประสบการณ์ในการสอนวิชาพระพุทธศาสนาอยู่ที่ ๖-๑๐ ปี จำนวน ๕๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๕.๕ และมีตำแหน่งปัจจุบันเป็นครู จำนวน ๑๔๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๔
๒.ผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธ ศาสนาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต ๒ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในเขตสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต ๒ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๔) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน
๓.ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต ๒
๑) ด้านสาระการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ควรเน้นคุณธรรมจริยธรรม การปฏิบัติตนให้เป็นบุตรทีดีของพ่อแม่, เป็นลูกศิษย์ทีดีของครู, เป็นประชาชนที่ดีในสังคม และเป็นพุทธมามกะที่ดีในพระพุทธศาสนา, ให้พระสงฆ์สอนเนื้อหาและสาระเกี่ยวกับประวัติพระพุทธเจ้า และพระพุทธศาสนาให้แก่นักเรียน
๒) ด้านการจัดกระบวนการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ควร
จัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับความสามารถและการรับรู้ของนักเรียนเพื่อไม่ให้นักเรียนเครียดและรู้สึกกดดันกับการเรียน
๓) ด้านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ควรมีการสอนธรรมะในโรงเรียนประจำทุกสัปดาห์เพื่อขัดเกลาจิตใจเด็ก ให้เขาโตขึ้น เป็นประชาชนที่ดีในสังคมไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองหรือผู้อื่น
๔) ด้านการจัดสื่อการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ควรใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการเรียนการสอนและใช้เหตุการณ์และสถานการณ์จริงให้เด็กเข้าถึงอย่างแท้จริงเพราะเด็กมีความแตกต่างเรียนรู้ไม่เท่ากัน เหมือนกับบัว ๔ เหล่า
๕) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ให้มีส่วนร่วมในการออกข้อสอบให้กับนักเรียน เพราะพระสงฆ์จะมีความรู้ทางด้านพระพุทธ ศาสนามากกว่าครู
ดาวน์โหลด |