หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พันตำรวจตรี มานพ เนียรภาค
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๖ ครั้ง
ประสิทธิภาพในการดำเนินการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อผู้วิจัย : พันตำรวจตรี มานพ เนียรภาค ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี ผศ.ดร. ป.ธ.๙ กศ.ม., พธ.ด.
  ผศ.ดร. วรกฤต เถื่อนช้าง ป.ธ.๙ ศษ.บ.ศศ.ม, ปร.ด.
  ผศ.อานนท์ เมธีวรฉัตร ป.ธ.๖, พธ.บ.,ศษ.บ., กศ.ม.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

 

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการดำเนินการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์       ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทัศนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อประสิทธิภาพในการดำเนินการปราบปราม ยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการดำเนินการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และมีการสัมภาษณ์เชิงลึกเพิ่มเติมกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๑๖๙ นาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) โดยหาค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๕ ท่าน และหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ ๐.๙๓๐ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที(t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญที่น้อยที่สุด (Least Significant Different : LSD.)

ผลการวิจัยพบว่า

๑. เจ้าหน้าที่ตำรวจมีความคิดเห็นว่าประสิทธิภาพในการดำเนินการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =๔.๐๙) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน คือด้านการป้องกัน และ ด้านการปราบปราม พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน

๒. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อประสิทธิภาพในการดำเนินการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับชั้นยศ และอายุราชการ พบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการดำเนินการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓. ปัญหา อุปสรรคในการดำเนินการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ พบว่าขาดแคลนงบประมาณ สวัสดิการ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ทันสมัย และกำลังพลมีค่อนข้างจำกัดและควรได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทั้งด้านความรู้ ทักษะ ความชำนาญ และการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ปัญหาด้านภาคเอกชนและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอยู่ในระดับน้อย-ปานกลาง และนอกจากนั้นยังพบปัญหาการใช้พื้นที่อำเภอเมืองนครสวรรค์ ซึ่งมีลักษณะเป็นสังคมเมือง มีแหล่งชุมชน แหล่งบันเทิง สถานบริการ หอพัก บ้านเช่า ร้านเกม ร้านอินเทอร์เน็ต และสวนสาธารณะจำนวนมากที่เอื้อต่อการใช้เป็นแหล่งพักยาเสพติด กระจายยาเสพติด และลำเลียงยาเสพติดไปสู่ภาคกลางและภาคอื่นๆ ของประเทศโดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑(ถนนเอเชีย)ซึ่งผ่านพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์

แนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา คือ รัฐบาลและผู้บังคับบัญชาระดับสูงต้องให้ความสำคัญในการบริหารจัดการกับปัญหาด้าน กำลังพล งบประมาณ สวัสดิการ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ทันสมัยให้เพียงพอต่อความจำเป็น ส่วนปัญหาเรื่องการให้ความร่วมมือของภาคเอกชนและประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดนั้นหัวหน้าส่วนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญกับการออกตรวจและพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนในพื้นที่เพื่อรับทราบปัญหา ข้อมูลข่าวสาร และเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชนให้เกิดความไว้วางใจ เชื่อมั่น ศรัทธา ขณะเดียวกันควรใช้สื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบและตระหนักถึงโทษพิษภัยของยาเสพติดและสร้างจิตสำนึกของการมีส่วนร่วมและกระแสต่อต้านยาเสพติดควบคู่กันไป ปัญหาการใช้พื้นที่เป็นแหล่งพัก กระจาย และลำเลียงยาเสพติดไปสู่ภาคกลางและภาคอื่นๆ ของประเทศนั้นต้องอาศัยการบูรณาการด้านการข่าวกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง และใช้งานการข่าวชี้นำงานการปราบปราม และนำเทคโนโลยีเกี่ยวกับการสำรวจ การติดต่อสื่อสาร การสืบสวน และการสกัดกั้นมาสนับสนุนงานการข่าวให้มากขึ้น เพื่อยกระดับงานด้านการปราบปรามให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดาวน์โหลด 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕