บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ตามทัศนะของประชาชน (๒) เพื่อเปรียบเทียบทัศนะของประชาชนที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เพศ อายุ การศึกษา รายได้ และอาชีพ (๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อยู่ในเขตอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๓๘๒ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ใช้ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไปกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
ผลการวิจัยพบว่า
ระดับความคิดเห็นของประชาชน พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน
ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา รายได้ และอาชีพ พบว่า ตัวแปรที่ทำให้ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ไม่แตกต่างกัน คือ เพศ อายุ การศึกษา รายได้ และอาชีพ
ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ คือ ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารงานทุกแนวทาง และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรให้ความสำคัญกับประชาชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารงานให้มากขึ้น ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ถึงการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบมีส่วน และควรที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริหารงานโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง ควรลดขั้นตอนความซับซ้อนยุ่งยากของระเบียบว่าด้วยการให้ชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้มีความชัดเจนสะดวกในการปฏิบัติ ควรมีความสำนึกรับผิดชอบในกระบวนการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการบริหารงานผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรยึดหลักความเสมอภาค ตลอดจนให้เกิดประโยชน์ตรงต่อความต้องการของชุมชนสูงสุด
ดาวน์โหลด
|