บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ๔ ของกองพันทหารช่างที่ ๔ จังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ (๑)เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ๔ ของกองพันทหารช่างที่ ๔ จังหวัดนครสวรรค์ และ (๒)เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ๔ ของกองพันทหารช่างที่ ๔ จังหวัดนครสวรรค์(๓)เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคแนวทางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ๔ ของกองพันทหารช่างที่ ๔ จังหวัดนครสวรรค์ กับข้าราชการของกองพันทหารช่างที่ ๔ ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๒๓๙ คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ในจำนวนประชากร ๕๒๙ คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจัดทำขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA ) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD ) และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ตลอดถึงแบบสัมภาษณ์ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เพื่อเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ผลการศึกษา พบว่า
๑. ข้าราชการของกองพันทหารช่างที่ ๔ จังหวัดนครสวรรค์ มีความคิดเห็นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ๔ ของกองพันทหารช่างที่ ๔ จังหวัดนครสวรรค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า ข้าราชการของกองพันทหารช่างที่ ๔ จังหวัดนครสวรรค์ มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ๔ ของกองพันทหารช่างที่ ๔ จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในระดับ มากที่สุดทุกด้าน
๒. เปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการกองพันทหารช่างที่ ๔ จังหวัดนครสวรรค์ มีความคิดเห็นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ๔ ของกองพันทหารช่างที่ ๔ จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ การศึกษา อายุราชการ ชั้นยศ และรายได้ต่อเดือน โดยภาพรวม พบว่า ไม่แตกต่างกันทุกตัวแปร จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
๓. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ๔ ของกองพันทหารช่างที่ ๔ จังหวัดนครสวรรค์ (๑) ผู้บังคับบัญชาระดับสูงต้องเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งในการปฏิบัติงาน และการดำเนินชีวิต เนื่องจากการพัฒนาคนที่ดีที่สุด ต้องใช้กระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางสังคม หรือที่เรียกว่า “วัฒนธรรมองค์กร” จะเป็นเบ้าหลอมที่ดีที่สุดยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด (2) ผู้บังคับบัญชาควรทำแผนพัฒนาบุคลากรของตนเองให้สอดคล้องกับนโยบาย และยุทธศาสตร์ขององค์กร และต้องดำเนินการให้ครอบคลุมทุกตำแหน่ง ทุกสายงาน ทุกระดับอย่างทั่วถึง โดยใช้กระบวนการสำรวจความจำเป็นในการพัฒนาและฝึกอบรมอย่างถูกต้องเพื่อให้ได้ข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาทรัพยากรที่ตรงตามความต้องการ และจำเป็นต่อองค์กรอย่างแท้จริงซึ่งจะทำให้บุคลากรที่อยู่ในองค์กรอย่างแท้จริงที่จะทำให้บุคลากรที่อยู่ในองค์มีประสิทธิภาพ(3) ควรมีการศึกษาในประเด็นเกี่ยวกับการนำหลักพุทธธรรมมาปรับประยุกต์ใช้จริงในการปฏิบัติงาน หรือการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงประสิทธิภาพของบุคลากรในทุกระดับต่อไป(๔)ควรศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บุคลากรในระดับต่าง ๆ ของกองพันทหารช่างที่ ๔ จังหวัดนครสวรรค์ (๕) ควรศึกษาปัจจัยในการรักษาคนดีไว้ในองค์กร(๖) ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคการจัดการเปลี่ยนแปลง (Change Management)
ดาวน์โหลด |