หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสัณทยา ธีรธารี (ไสยวิจิตร)
 
เข้าชม : ๑๙๙๕๙ ครั้ง
ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ในการพัฒนาองค์การของนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลหนองสอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสัณทยา ธีรธารี (ไสยวิจิตร) ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุพรต บุญอ่อน ศษ.บ.,กศ.ม., Ph.D.
  พระอมรเมธี ดร. พธ.บ, กศม. Ph.D.
  พระโสภณวราภรณ์ ดร. พธ.บ. กศม.Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม ๗   ในการพัฒนาองค์การของนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลหนองสอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์      ๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ในการพัฒนาองค์การ                    ของนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลหนองสอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการส่งเสริมการนำหลักสัปปุริสธรรม ๗  มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์การของนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลหนองสอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับประชาชนที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลหนองสอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ สุ่มกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน ๓๗๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ (Least Significant Difference : LSD)  โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕

ผลการวิจัย พบว่า

ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ในการพัฒนาองค์การของนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลหนองสอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านโดยมีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับดังนี้ ด้านความเป็นผู้รู้จักตน ด้านความเป็นผู้รู้จักบริษัท ด้านความเป็นผู้รู้จักกาล ด้านความเป็นผู้รู้จักประมาณ ด้านความเป็นผู้รู้จักเหตุ และ ด้านความเป็นผู้รู้จักผล ยกเว้น ด้านความเป็นผู้รู้จักบุคคล อยู่ในระดับปานกลาง

เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม ๗      ในการพัฒนาองค์การของนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลหนองสอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ การศึกษา และอาชีพต่างกัน               มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ในการพัฒนาองค์การ ของนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลหนองสอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑และ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มีรายได้และสถานภาพสมรสต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ในการพัฒนาองค์การ              ของนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลหนองสอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

ปัญหาเกี่ยวกับภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ในการพัฒนาองค์การ              ของนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลหนองสอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า บางครั้งผู้นำเทศบาลตำบลก็ยังหาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงไม่ได้ จนทำให้เกิดการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงสาเหตุ ทำให้ปัญหานั้นเรื้อรัง บุคลากรในเทศบาลตำบลบางคนยังขาดเหตุผลในการปฏิบัติงาน หาเป้าหมายของงานไม่ได้ เลยส่งผลให้งานที่ทำออกมาไม่ดีเท่าที่ควร บางครั้งผู้นำ ไม่ได้คำนึงถึงความคิดเห็นของคนภายในชุมชน บางครั้งผู้นำก็ทำงานโดยไม่คำนึงถึงเวลางานที่แท้จริง บางครั้งก็เลิกงานก่อน ผู้นำเทศบาลตำบลยังเข้าไม่ถึงชุมชนเท่าที่ควร เนื่องจากในเขตเทศบาลตำบลมีพื้นที่กว้างขวาง การเข้าถึงประชาชนจึงเกิดความลำบาก ไม่สามารถจะรู้ปัญหาของประชาชนได้อย่างแท้จริง  ผู้นำเทศบาลตำบลมีปัญหาเกี่ยวกับด้านบุคคลมากพอสมควร โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยของการเที่ยวและอารมณ์รุนแรงชอบมั่วสุมตามสถานที่ต่างๆ

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕