หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » Samanera Souliyanh Southammavong
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการบริหารขยะมูลฝอยของวัดหนองแวง(พระอารามหลวง) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ชื่อผู้วิจัย : Samanera Souliyanh Southammavong ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ. ดร.ชาญชัย ฮวดศรี ป.ธ.๓, พธ.บ., M.A.(Pol. Sc.), Ph.D. (Sc.)
  ดร. ปัญญา คล้ายเดช ป.ธ.๗, พธ.บ. (เศรษฐศาสตร์), รป.ม.(รัฐประศาสนศาสตร์), Ph.D.(Pol. Sc.)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการบริหารขยะมูลฝอยของวัดหนองแวง (พระอารามหลวง) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการบริหารขยะมูลฝอยของวัดหนองแวง (พระอารามหลวง) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา (๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการบริหารขยะมูลฝอยของวัดหนองแวง(พระอารามหลวง) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวชมวัดหนองแวง(พระอารามหลวง) จำนวน ๓๘๑ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๙๕ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ( Percentage) ค่าเฉลี่ย ( X̅ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน( S.D. ) การทดสอบ (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญที่น้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD.)

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑. นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน ๑๙๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๗ มีอายุตั้งแต่ ๒๑ – ๓๐ ปี มีจำนวน ๑๖๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๐ มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา ๑๓๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๕.๔  มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับ ปวส/อนุปริญญา ๑๑๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๑

                      ๒. นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อการบริหารขยะมูลฝอยของวัดหนองแวง(พระอารามหลวง) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับน้อย  (X̅ = ๒.๔๓ ) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อการบริหารขยะมูลฝอยของวัดหนองแวง(พระอารามหลวง) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ด้านเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย อยู่ในระดับปานกลาง และ ด้านอัตราการเกิดขยะมูลฝอย ด้านการกักเก็บขยะมูลฝอย อยู่ในระดับน้อย

๓. นักท่องเที่ยวที่มีอายุ และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารขยะมูลฝอยของวัดหนองแวง(พระอารามหลวง) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนนักท่องเที่ยวที่เพศ และระกับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารขยะมูลฝอยของวัดหนองแวง(พระอารามหลวง) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ไม่แตกต่างกัน จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

๔. ปัญหาที่พบ คือ ไม่มีสื่อแนะนำในการทิ้งขยะมูลฝอย ตลอดจนขาดหลักการในการลดปริมาณขยะมูลฝอย ไม่มีถังแยกขยะมูลฝอย ภาชนะรองรับขยะมูลฝอยไม่มีเพียงพอ ขาดประสิทธิภาพ และถังรองรับขยะมูลฝอยยังทำให้ทัศนียภาพเสีย และ ถังรวบรวมขยะมูลฝอยไม่เพียงพอ ขาดประสิทธิภาพ ขาดความแข็งแรง ตั้งใกล้ศาสนสถานมากเกินไป

มีแนวทางในการบริหารคือ ควรใช้หลักการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งที่เกิด ส่งเสริมในการคัดแยกขยะมูลฝอยก่อนทิ้ง และภาชนะรองรับปริมาณขยะมูลฝอยควรมีปริมาณเพียงกับความต้องการของปริมาณขยะมูลฝอยและมีประสิทธิภาพ แข็งแรง เพื่อป้องกัน สุนัข และสัตว์อื่นๆคุ้ยเขี่ยทำให้ทัศนียภาพของวัดเสีย ควรหาจัดที่ตั้งใหม่ ถ้ายังอยู่จุดเดิมควรหาวิธีที่จะทำให้เกิดความสวยงามมากกว่าเดิม เพื่อความกลมกลืนกับศาสนสถาน เพิ่มความถี่ในการนำขยะมูลฝอยไปทิ้ง

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕