หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสุฉุน อคฺคโชโต (ฉอย)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของคณะสงฆ์ในอำเภออุฎงค์ จังหวัดกำพงสะพือ ประเทศกัมพูชา
ชื่อผู้วิจัย : พระสุฉุน อคฺคโชโต (ฉอย) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม พธ.บ., M.A., Ph.D.(PoI. Sc.)
  พระมหาบุญเลิศ อินทฺปญฺโญ, ผศ. พธ.บ.(เกียรตินิยมอันดับ ๑)ศศ.ม., รป.ม.(การจัดการความขัดแย้ง)
  อาจารย์ ดร.วันชัย สุขตาม ศศ.บ., รป.ม. รป.ด. (รัฐประศาสนศาตร์)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพระภิกษุ สามเณร ที่มีต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของคณะสงฆ์ในอำเภออุฎงค์  จังหวัดกำพงสะพือ ประเทศกัมพูชา ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระภิกษุ สามเณร ที่มีต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของคณะสงฆ์ในอำเภออุฎงค์  จังหวัดกำพงสะพือ ประเทศกัมพูชา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของคณะสงฆ์ในอำเภออุฎงค์  จังหวัดกำพงสะพือ ประเทศกัมพูชา  การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พระภิกษุสามเณร ที่อยู่ในอำเภออุฎงค์  จังหวัดกำพงสะพือ  เป็นประชากรในการศึกษา จำนวน ๒๒๖ คน  ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน (R.V.Krejcie & Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ การทดสอบค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของคณะสงฆ์ในอำเภออุฎงค์  จังหวัดกำพงสะพือ ประเทศกัมพูชา พระภิกษุ สามเณร มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (  = ๓.๓๕) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน มีเพียงด้านการธำรงรักษาที่อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านการธำรงรักษา (  = ๓.๖๐) ด้านการพัฒนา (  = ๓.๓๖) ด้านการวางแผน (  = ๓.๒๓) และด้านการสรรหา (  = ๓.๒๑)

๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของพระภิกษุ สามเณร ต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของคณะสงฆ์ในอำเภออุฎงค์ จังหวัดกำพงสะพือ ประเทศกัมพูชา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ สถานภาพ จำนวนพรรษา  วุฒิการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงาน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของคณะสงฆ์ในอำเภออุฎงค์  จังหวัดกำพงสะพือ ประเทศกัมพูชา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ส่วนพระภิกษุ สามเณร ที่มีวุฒิการศึกษาทางธรรมต่างกันมีความคิดเห็นต่อในอำเภออุฎงค์  จังหวัดกำพงสะพือ ประเทศกัมพูชา ไม่แตกต่างกัน

๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของคณะสงฆ์ในอำเภออุฎงค์  จังหวัดกำพงสะพือ ประเทศกัมพูชา พบว่า ด้านการวางแผน ยังไม่มีการวิเคราะห์ภาระงานอย่างจริงจัง จึงทำให้การกำหนดหน้าที่ในการปฏิบัติงานยังไม่ชัดเจน ด้านการสรรหา พบว่า การกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้ามาปฏิบัติงานในองค์การยังไม่ตรงต่อภาระหน้าที่งาน กระบวนการสรรหายังไม่มีความหลากหลาย ด้านการพัฒนา พบว่า คณะสงฆ์เปิดโอกาสให้พระภิกษุ สามเณร พัฒนาศักยภาพของตัวเองในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นน้อย การสนับสนุนด้านวิชาการมีน้อย ไม่มีความหลากหลาย ด้านการธำรงรักษา พบว่า ยังขาดการจัดสวัสดิการให้แก่พระภิกษุ สามเณร  ความสัมพันธ์ระหว่างพระภิกษุ สามเณร ในองค์กรยังมีน้อย ส่วนข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของคณะสงฆ์ในอำเภออุฎงค์  จังหวัดกำพงสะพือ ประเทศกัมพูชา พบว่า ควรมีการวางแผนการพัฒนาการบริหารงานในคณะสงฆ์อย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์สภาพปัญหาภายในองค์กรอย่างชัดเจน กระบวนการสรรหาควรมีความหลากหลาย มีการสรรหาทั้งภายในและภายนอก การบรรจุแต่งตั้งพระภิกษุ สามเณร เข้าทำงาน ควรมีความรู้ความสามารถตรงต่อภาระหน้าที่ มีการเปิดโอกาสให้พระภิกษุ สามเณร สามารถพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของตนเองได้ และควรมีการสร้างขวัญกำลังใจให้กับพระภิกษุ สามเณร ในการปฏิบัติงาน

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕