บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ๒) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะและแนวทางในการปรับประยุกต์ใช้ในการนำหลักไตรสิกขามาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
ระเบียบวิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณซึ่งผู้วิจัยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๒๒๒ ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามที่จัดทำขึ้น เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายปิดและปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance) และในกรณีที่พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย จึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญที่น้อยที่สุด (Scheffe’)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ด้านศีล อยู่ในระดับมาก (= ๓.๘๙ ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา อยู่ในระดับมากทุกข้อ
๒. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ด้านสมาธิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=๓.๖๙) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา อยู่ในระดับมาก และระดับปานกลาง
๓. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ด้านปัญญา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= ๓.๖๙ ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา อยู่ในระดับมากทุกข้อ
การเปรียบเทียบระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จำแนกตามเพศโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงปฏิเสธสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ยกเว้นด้านสมาธิ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
การเปรียบเทียบระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จำแนกตามอายุ พบว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
การเปรียบเทียบระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
การเปรียบเทียบระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จำแนกตามสถานภาพสมรส พบว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ยกเว้นด้านสมาธิ และด้านปัญญา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
การเปรียบเทียบระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จำแนกตามตำแหน่งงาน พบว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
การเปรียบเทียบระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จำแนกตามรายได้ต่อเดือน พบว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
การเปรียบเทียบระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน พบว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงปฏิเสธสมมุติฐานที่ตั้งไว้
ดาวน์โหลด |