บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท ๔ ของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท ๔ ของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท ๔ ของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
ระเบียบวิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณซึ่งผู้วิจัยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างในอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน ๒๑๐ ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามที่จัดทำขึ้น เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายปิดและปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance) และในกรณีที่พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย จึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญที่น้อยที่สุด (Scheffe’)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. การบริหารงานตามหลักอิทธิบาท ๔ ของเจ้าอาวาสในอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =๓.๖๔) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านฉันทะ ประชาชนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( =๓.๖๘) ด้านวิริยะ ประชาชนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( =๓.๖๕) ด้านจิตตะ ประชาชนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( =๓.๖๕) ด้านวิมังสา ประชาชนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( =๓.๖๐)
๒. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท ๔ ของเจ้าอาวาสในอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามเพศ ตำแหน่งงาน พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท ๔ ของเจ้าอาวาสในอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีไม่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงปฏิเสธสมมุติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาพบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท ๔ ของเจ้าอาวาสในอำเภอสมเด็จ จังหวัด โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
๓. ข้อเสนอแนะการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท ๔ ของเจ้าอาวาสในอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ เจ้าอาวาสควรเพิ่มบทบาทด้านการพัฒนาองค์ความรู้ในหลักธรรมด้านต่าง ๆ ให้กับประชาชนชาวบ้านในพื้นที่ให้สามารถนำหลักธรรมมาใช้และประยุกต์ใช้ในการพึ่งพาตนเองได้ ควรแต่งตั้งคณะกรรมการในด้านการร่วมมือขึ้นมาให้คณะการบริหารงานร่วมมือกับสำนักพุทธศาสนาประจำจังหวัด จัดหลักสูตรฝึกอบรมหลักอิทธิบาท ๔ให้กับประชาชนชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่และหมู่บ้านได้มีโอกาสเรียนรู้และเข้าใจถึงหลักธรรมการใช้อิทธิบาท ๔ ในการดำเนินชีวิต ควรสนับสนุนงบประมาณให้บุคลากรได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับองค์ความรู้ในด้านการพัฒนาหลักธรรมคำสอนนำพาชีวิตเพื่อเป็นการส่งเสริมและผลักดันในด้านการบริหารเกี่ยวกับหลักธรรมต่างๆเพื่อให้เกิดเป็นแนวทางในการปฏิบัติและส่งเสริมให้เป็นนโยบายต่อไป
ดาวน์โหลด
|