หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสาคร กุลวฑฺฒโน (ทายัง)
 
เข้าชม : ๑๙๙๕๘ ครั้ง
การมีส่วนร่วมในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสาคร กุลวฑฺฒโน (ทายัง) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol. Sc.)
  อาจารย์ พระมหาสม กลฺยาโณ พธ.บ., M.S.W., Ph.D. (Social Work)
  อาจารย์ ดร.ยุทธนา ปราณีต พธ.บ., ร.บ., M.A., Ph.D. (Pol. Sc.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี  ๒) เพื่อเปรียบเทียบ ระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดสระบุรี  โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลใน               อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดสระบุรี

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม  โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยกำหนดรูปแบบในการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือประชาชนหมู่บ้านที่อยู่ในเขตบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี จำนวน ๓๙๕ คน จากจำนวนประชากร ๓๓,๖๐๕ คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อกระบวนการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด          (Least Significant Difference : LSD) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview)    โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

๑) การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีค่าเฉลี่ย ๓.๒๔ เมื่อจำแนกพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี อยู่ในระดับปานกลาง     ทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยตามค่าเฉลี่ย ดังนี้ ด้านติดตามประเมินผล ๓.๒๗      ด้านการวางแผน ๓.๒๔ ด้านการบริหารดำเนินงาน ๓.๒๓ และ ด้านการปรับปรุงผล          การดำเนินงาน ๓.๒๑

              ๒) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี ทั้ง ๔ ด้าน คือ
ด้านการวางแผน ด้านการบริหารงาน ด้านการติดตามประเมินผล และด้านการปรับปรุงผลการดำเนินงาน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน มีการมีส่วนร่วมในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี ทั้ง ๔ ด้าน ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  ส่วนประชาชนที่มีรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีการมีส่วนร่วมในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี  ด้านการบริหารงานดำเนินงาน แตกต่างกัน

               ๓) ผลการวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์การมีส่วนร่วมในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลใน    อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี ส่วนใหญ่เห็นว่าการบริหารทุกเรื่องทุกส่วนงานต่างๆนั้นจำเป็นที่จะต้องให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทร่วมกัน เน้นความสามัคคี การทำงานเป็นทีม    การยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ และที่สำคัญคือจะต้องนำเอาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ร่วมกับการทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบล อาทิเช่น     อิทธิบาท ๔ พรหมวิหาร ๔ อคติธรรม ๔ สังคหวัตถุ ๔ สัปปุริสธรรม ๗.

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕