บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ๒) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
ระเบียบวิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณซึ่งผู้วิจัยใช้แบบสอบถามโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในตำบลหนองรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน ๔๐๐ โดยการเปิดตารางสุ่มกลุ่มตัวอย่างประชากร ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามที่จัดทำขึ้น เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายปิดและปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percentage), และค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Satndard Deviation) ทดสอบสมมุติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= ๓.๙๑) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ประชาชนมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง(=๒.๙๖ ) ด้านการมีส่วนร่วมเสียสละในการพัฒนา ประชาชนมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ ๓.๔๖ ) ด้านการมีส่วนร่วมในการแบ่งปันผลประโยชน์ ประชาชนมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก (= ๓.๕๕ ) และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลงาน ประชาชนมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก (=๓.๙๑ )
๒. การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำแนกตามเพศ โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงปฏิเสธสมมุติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
๓. การบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับแผนพัฒนาหรือนโยบายการบริหารงาน เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาตำบล มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลจัดขึ้น และควรส่งเสริมทำความเข้าใจให้ประชาชนมีการเสียภาษีบำรุงท้องที่ ควรมีการจัดสรรงบประมาณไปสู่ประชาชนในตำบลอย่างทั่วถึง และเป็นธรรมในรูปของระบบสาธารณูปการต่างๆ และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการบริหารงานเพื่อความโปร่งใส เป็นธรรม ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการจัดสรรงบประมาณไปสู่ภาคประชาชน เปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับทราบ แสดงความคิดเห็นในการประเมินผลเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลจัดขึ้นอยู่ตลอด
ดาวน์โหลด |