หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระพงษ์พัฒน์ ธีรปญฺโญ (คิดโสดา)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๖ ครั้ง
การบริหารงานตามหลักสาราณียธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อผู้วิจัย : พระพงษ์พัฒน์ ธีรปญฺโญ (คิดโสดา) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ดร.ปัญญา คล้ายเดช ป.ธ.๗, พธ.บ. (เศรษฐศาสตร์ ), รป.ม.(รัฐประศาสนศาสตร์), Ph.D. (Pol.Sc.)
  ผศ.ดร.ชาญชัย ฮวดศรี, พธ.บ. (สังคมศึกษา), M.A. (Pol. Sc.), Ph.D. (Soc.Sc.)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

 

บทคัดย่อ

      วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ () เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักสาราณียธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลขอนแก่นอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด (๒) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักสาราณียธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ตามความคิดเห็นของประชาชน โดยจำแนกปัจจัยส่วนบุคคล (๓) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานตามหลักสาราณียธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ดการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน ๓๖๗ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) และ ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย  ( )  และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test )และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA ) และสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview)  กับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (Key Informants ) จำนวน ๕ คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา(Content Analysis) อธิบายในรูปของความเรียง  

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง  ๑๘๖  คน  คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๕ มีอายุตั้งแต่  ๑๘-๓๐ ปี จำนวน ๑๑๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๒ มีระดับการศึกษาตั่งแต่  ประถมศึกษา ๘๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๖  มีอาชีพรับจ้าง จำนวน ๑๑๖ คน  มีรายได้ไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท คิดเป็นร้อยละ ๓๑.๖ 

๒. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักสาราณียธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวม อยู่ในระดับมาก( =๓.๖๑) เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่าประชาชนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ คือ ด้านเมตตากายกรรม, เมตตาวจีกรรม, เมตตามโนกรรม, สีลสามัญญตา, ทิฏฐิสามัญญตา, และสาธารณโภคี ตามลำดับ

๓. ประชาชนที่มีอาชีพ ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักสาราณียธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลขอนแก่น แตกต่างกัน เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้  ส่วนประชาชนที่มี เพศ,อายุ,ระดับการศึกษา, และรายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักสาราณียธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลขอนแก่นไม่ต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

๔. มีแนวทางการบริหารงานตามหลักสาราณียธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด คือ

(๑) ด้านเมตตากายกรรม  สนับสนุนให้อยู่ร่วมกันแบบครอบครัว และมีการให้บริการประชาชนเหมือนกับการให้ความช่วยเหลือญาติ พี่ น้อง หรือคนในครอบครัวของตน

(๒) ด้านเมตตาวจีกรรม มุ่งเน้นการให้บริการที่เท่าเทียมกัน พูดจาไพเราะอ่อนหวาน

(๓) ด้านเมตตามโนกรรม มุ่งคิดว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร คิดต่อกันด้วยเมตตา คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองในแง่ดี 

(๔) ด้านสาธารณโภคี ยึดหลักที่ว่า “ได้มาแบ่งกันกินแบ่งกันใช้” โดยชอบธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สงเคราะห์แก่กัน จัดสรรสวัสดิการ ตามความเหมาะสม

(๕) ด้านสีลสามัญญตา บุคลากร รักษาระเบียบวินัยของส่วนรวม ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจหรือเสื่อมเสียแก่หมู่คณะ

(๖) ด้านทิฏฐิสามัญญตา ความเคารพรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีความเห็นชอบร่วมกันตกลงกันได้ในหลักการสำคัญ

 

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕