หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาวิฑูรย์ สิทฺธิเมธี (บังสันเทียะ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๗ ครั้ง
วิเคราะห์อุดมการณ์ของพระสีวลีเถระตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาวิฑูรย์ สิทฺธิเมธี (บังสันเทียะ) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูภาวนาโพธิคุณ, ดร., พธ.บ., M.A., Ph.D. (Philosophy)
  รศ.อุดม บัวศรี ป.ธ.๗, พธ.บ., พ.ม., M.A., (Philosophy)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                         งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  โดยการศึกษาจากเอกสาร  และศึกษาภาคสนามในการสัมภาษณ์กลุ่มบุคคลเป้าหมาย  ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องอุดมการณ์ในทางพุทธปรัชญาเถรวาท  เพื่อศึกษาประวัติและอุดมการณ์ของพระสีวลีเถระตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท  และวิเคราะห์อิทธิพลของอุดมการณ์พระสีวลีเถระตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีต่อสังคมไทย

                         ผลการศึกษาวิจัยพบว่า  อุดมการณ์ในพุทธปรัชญาเถรวาท  หมายถึง  ความมุ่งมั่น  หรือความตั้งใจให้ประสบผลสำเร็จ  อุดมการณ์ในพุทธศาสนามี   ลักษณะ  หรือ    ระดับ  คือ  อุดมการณ์ระดับโลกิยะ  ในมิติบุคคลก็คืออุดมการณ์เพื่อตน  หรือเพื่อส่วนรวม  คือการประสบความสำเร็จในชีวิต  ด้านอาชีพ  การงาน  การศึกษา  เศรษฐกิจ  เป็นต้น  กับอุดมการณ์ระดับ    โลกุตตระ  ในมิติทางพุทธศาสนาคือการมุ่งไปสู่ภาวะแห่งการอดทน  การมุ่งไปสู่มรรคผลนิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุด  และถ้าอุดมการณ์ทั้ง    ยังเกิดสาตัจจกิริยาหรือการสานต่อเรื่อยไปตราบใด  ก็อาจจะบรรลุธรรมขั้นใดขั้นหนึ่งในชาตินี้ได้ตราบนั้น

                         ประวัติและอุดมการณ์ของพระสีวลีเถระตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท  จากการศึกษาวิจัยพบว่า  อุดมการณ์ของพระสีวลีเถระอาจแบ่งเป็น    ระดับ  อันดับแรก  คือ  อุดมการณ์ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน  จากการศึกษาประวัติของพระสีวลีพบว่า  การที่ท่านเห็นภิกษุรูปหนึ่งในอดีตเคยเป็นผู้ใกล้ชิดและได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอตทัคคะกับพระพุทธเจ้าองค์ก่อน  เห็นว่าท่านเป็นผู้ที่มีลาภสักการะมากจึงมีความปรารถนาเช่นนั้นบ้าง  อันดับที่สอง  เมื่อกาลเวลาหมุนเวียนเปลี่ยนผ่าน  เมื่อท่านได้เกิดร่วมกับพระพุทธเจ้าสมัยปัจจุบันท่านก็ได้รับเอตทัคคะที่ท่านตั้งความหวังเอาไว้  เรียกว่าอุดมการณ์สำเร็จแล้ว  แต่เมื่อประโยชน์ตนสำเร็จบริบูรณ์ครบถ้วนแล้ว  ต่อไปก็บำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม  อันดับแรกก็คือ  ความเกื้อกูลที่มีต่อคณะสงฆ์  ก็คือบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดท่านได้รับอานิสงส์ผลการมุ่งมั่นหรืออุดมการณ์ที่บรรลุการเป็นผู้มีลาภสักการะ  อันดับที่สอง  อุดมการณ์ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขของมหาชนคนหมู่มาก  ซึ่งเป็นพระดำรัสหรือเป็นวัตถุประสงค์หรือเป็นอุดมการณ์ของพระพุทธศาสนิกชนทั่วไป  โดยเฉพาะพระสงฆ์ที่ออกไปเผยแพร่ศาสนาในยุคนั้น

                         อิทธิพลของอุดมการณ์พระสีวลีเถระที่มีต่อสังคมไทย  จากการศึกษาวิจัยพบว่าพระสีวลีเถระมีอิทธิพลหลายแง่มุมด้วยกัน  ในแง่ของความเป็นสังฆภาวะ  เน้นหนักไปในทางด้านการมีลาภสักการะ  ในแง่ทางเศรษฐกิจ  เช่น  พ่อค้า  ประชาชนที่ไปสัมภาษณ์มาพากันนับถือองค์พระสีวลีก็เพื่อว่าท่านเป็นผู้ที่มีลาภสักกระมาก  ฉะนั้น  การบูชาสักการะ  จำหน่าย  หรือที่นับถือท่าน  สาระสำคัญก็คือ  เพื่อความสำเร็จในด้านธุรกิจด้านค้าขายร่ำรวย  หรือความเป็นผู้มีโชคลาภ  หมายความว่า  การมีลาภสักการะเกิดขึ้นจากความปรารถนาส่วนบุคคลเป็นความต้องการที่เป็นประโยชน์ส่วนตน  ดังนั้นอิทธิพลอุดมการณ์ของพระสีวลีที่มีต่อสังคมไทยเป็นไปใน   ประเด็น  คือ  อุดมการณ์เพื่อประโยชน์ตน  อุดมการณ์เพื่อประโยชน์ส่วนรวม  และอุดมการณ์ระดับโลกิยะ  ส่วนอุดมการณ์ระดับโลกุตตระนั้นไม่ชัดเจนหรืออาจจะไม่มีก็ได้  เนื่องด้วยเพราะสังคมไทยนั้นไม่ได้มุ่งตรงไปที่ตัวอุดมการณ์แบบพุทธ  ในมิติทางสังฆกิจอิทธิพลของพระสีวลีเถระที่มีต่อสังคมไทยคือการหลุดพ้นกล่าวคือวิมุตติ  การบรรลุถึงหรือไม่ถึงความมีลาภมากเป็นเพียงระดับโลกิยะ  ของพุทธก็จะเป็นแบบประโยชน์ส่วนตน  ประโยชน์ส่วนรวม  ประโยชน์ระดับโลกุตตระ  อิทธิพลส่วนมากจะเป็นประโยชน์ส่วนตนเป็นสำคัญ  อุดมการณ์เพื่อประโยชน์ตนส่วนมากก็จะเป็นไปในระดับโลกิยะมากกว่าโลกุตตระ  เป็นไปในเชิงจริยศาสตร์  คือ  ควรทำไม่ควรทำ  บางคนพอถือพระสีวลีก็มีข้อห้ามเช่น  ถือแล้วห้ามด่าพ่อแม่กัน  ห้ามขโมย  ห้ามคดโกง  เป็นต้น  จิตใจภายในของท่านพระสีวลีเถระนี้มีความเป็นจริยศาสตร์  แต่ภายนอกที่คนมองนั้น  เป็นภาพของอภิปรัชญาที่มองเห็นว่าท่านเป็นคนศักดิ์สิทธิ์  จึงพยายามแสวงหาสรรสร้างสิ่งที่เป็นรูปร่างเพื่อทำการสักการบูชาสารพัดขึ้นมาด้วยหวังให้เกิดความหนักแน่นยิ่งขึ้น  นี่คือ  Metaphysics  ที่เป็นความเชื่อลึก ๆ  ที่ไม่สามารถหาเหตุผลอะไรมาอธิบายได้

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕