บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพในสาขาปรัชญาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องตัวตนในงานวรรณกรรมของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท การวิจัยเป็นการวิจัยเอกสารโดยอ่านและวิเคราะห์เนื้อหาในงานเขียนของเสกสรรค์ฯ จำนวน ๓๓ เล่ม เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องตัวตนในพุทธปรัชญาเถรวาทโดยศึกษาข้อมูลในพระไตรปิฏก อรรถกถา ฎีกาและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องตัวตนในพุทธปรัชญาโดยอาศัยทฤษฎีสัจจะ ๒ เป็นหลักซึ่งจะเห็นได้ว่าความจริงสูงสุดคือปรมัตถสัจจะนั้นพุทธปรัชญาเถรวาทปฏิเสธแนวคิดเรื่องตัวตนที่ถาวรซึ่งสุดท้ายแล้วเป็นเพียงสภาวะที่ว่างเปล่าคือสุญญตาไม่มีตัวตนที่ถาวรตัวตนในระดับสมมติสัจจะซึ่งเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อการสื่อสาร (ภาษา) ในการสร้างความเข้าใจเพื่อการอยู่ร่วมของมนุษย์ คำว่าตัวตนระดับสมมติสัจจะนี้เป็นสิ่งที่ยอมรับได้
การศึกษาแนวคิดเรื่องตัวตนที่ปรากฏในงานวรรณกรรมของ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล พบว่าตัวตนแบ่งออกได้ ๓ แบบคือ ๑. ตัวตนที่เป็นวัตถุคือร่างกาย ๒. ตัวตนที่เป็นจิตคือความคิด และ ๓. ตัวตนที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว ตัวตนทั้งหมดที่นำเสนอผ่านงานวิจัยนี้ล้วนมาปัจจัยหลัก
๒ ประการคือ ๑. จากประสบการณ์ในชีวิต ๒. จากการศึกษาเรียนรู้ผ่านทฤษฎีต่าง ๆ จนเกิดบูรณาการขึ้นมาเป็นชุดความคิดต่าง ๆของตัวเอง
ดังนั้น ตัวตนในงานวรรณกรรมของ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล เมื่อวิเคราะห์ตามแนว
พุทธปรัชญาเถรวาทแล้ว ในระดับที่เป็นภาษาและข้อความในงานวรรณกรรมเป็นเพียงตัวตนในระดับสมมติบัญญัติเท่านั้น แต่จากประสบการณ์ของชีวิตและทฤษฎีที่เรียนรู้มาทำให้เห็นว่าเป้าหมายของความสมบูรณ์ของมนุษย์คือการปราศจากทุกข์อย่างสิ้นเชิงซึ่งเมื่อมองตามเจตนารมณ์ของ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล แล้วถือว่าเป็นความจริงระดับปรมัตถสัจจะ
ดาวน์โหลด |