หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางกัญญมณฑ์ กัณฑะพงศ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๖ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์หลักสุนทรียศาสตร์ในภาพเขียนเซน
ชื่อผู้วิจัย : นางกัญญมณฑ์ กัณฑะพงศ์ ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ, ผศ.ดร., ป.ธ. ๓, พธ.บ., พธ.ม., Ph.D. (Philosophy)
  ศ.ดร. สมภาร พรมทา, ป.ธ. ๘, อ.ม., อ.ด. (ปรัชญา)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ต้องการศึกษาเทคนิคการวาดภาพ ๖ ประการของเซี่ย เห้อ แล้วใช้เทคนิคนั้นทำความเข้าใจสุนทรียภาพในภาพเขียนเซน เจาะจงผลงานที่ปรากฏเป็นภาพเขียนเซนอย่างชัดเจนของมู่ ซีและเหลียง ข่าย ยุคซ่งใต้

จากการวิจัยพบว่าทัศนะที่เกี่ยวข้องกับหลักการทั้ง ๕ ข้อแรกของเซี่ย เห้อ สามารถอธิบายความงามที่ปรากฏในคำอธิบายประกอบภาพเขียนเซน และความแตกต่างของสุนทรียภาพที่ปรากฏบนภาพ สามารถอธิบายโดยใช้แนวคิดของปรัชญาเซนได้ อีกทั้งสามารถใช้หลักการนี้อธิบายนิยามความงามภาพเขียนเซน ที่พิจารณาด้วยกรอบทางปรัชญาเซนได้เช่นกัน

          ข้อดีของการใช้เฉพาะเทคนิคการเขียนภาพ ๖ ประการของเซี่ย เห้อ วิเคราะห์ภาพเขียนเซนคือ สามารถเข้าใจคำอธิบายภาพได้ทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรม และสามารถจำแนกความแตกต่างของสุนทรียภาพ เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ ส่วนข้อด้อยของวิธีการนี้คือ ต้องใช้ร่วมกับทัศนะของนักวิชาการท่านอื่น จึงจะพิจารณาความงามภาพเขียนเซนได้ครบทุกข้อ และต้องอาศัยหลักปรัชญาเซนร่วมวิเคราะห์ด้วย จึงสามารถให้เหตุผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสุนทรียศาสตร์ในภาพเขียนเซนได้

          ดังนั้นตามทัศนะของผู้วิจัย การพิจารณาความงามภาพเขียนเซนให้ครอบคลุม ควรใช้ทั้งหลักสุนทรียศาสตร์ร่วมกับหลักปรัชญาเซน จะช่วยให้เข้าใจคำบรรยายประกอบภาพเขียนเซนได้ดียิ่งขึ้นมากกว่าการใช้เพียงหลักการเดียว

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕