บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษาตามหลักอิทธิบาท ๔ ของวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ ๒) เพื่อศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษาตามหลักอิทธิบาท ๔ ของวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ และ ๓) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษาตามหลักอิทธิบาท ๔ ของวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล จำนวน ๒๑๑ รูป/คน ใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้
ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ต่อการศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษาตามหลักอิทธิบาท ๔ ของวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายจำนวน ๑๒๙ รูป/คน คิดเป็น ร้อยละ ๖๑.๑๔ มีกลุ่มอายุ ๒๐ – ๒๕ ปี จำนวน ๑๐๖ รูป/คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๒๔ สถานภาพ เป็นคฤหัสถ์ จำนวน ๑๒๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๘๒ ระดับการศึกษา ปริญญาตรี จำนวน ๑๙๖ รูป/คน คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๘๙ ตำแหน่ง เป็นนิสิต จำนวน ๑๙๕ รูป/คน คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๔๒ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต มีความคิดเห็นต่อการศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษาตามหลักอิทธิบาท ๔ ของวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๐๕) เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิตมีความคิดเห็นต่อการศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษาตามหลักอิทธิบาท ๔ ของวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน จำแนกเป็นรายด้านที่มีระดับมากที่สุดคือ ด้านวิริยะ และด้านวิมังสา มีค่าเฉลี่ย ( = ๔.๐๙) ซึ่งอยู่ในระดับมาก ด้านจิตตะ มีค่าเฉลี่ย ( = ๔.๐๗) ซึ่งอยู่ในระดับมาก ส่วนรายด้านที่มีระดับน้อยที่สุดคือ ด้านฉันทะ มีค่าเฉลี่ย ( = ๓.๙๕) ซึ่งอยู่ในระดับมาก
เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็น ของผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิตต่อการศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษาตามหลักอิทธิบาท ๔ ของวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลแล้วพบว่า ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิตที่มีตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษาตามหลักอิทธิบาท ๔ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ สำหรับในด้าน เพศ อายุ สถานภาพ และระดับการศึกษา มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะ คือการนำหลักการประกันคุณภาพการศึกษาตามหลักอิทธิบาท ๔ ไปใช้เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา ของวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ให้มีคุณภาพ ควรคำนึงถึงหลักอิทธิบาท ๔ ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานของหน่วยงานองค์กรของตนเอง ซึ่งถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิตทุกคนที่ศึกษาและปฏิบัติหน้าที่ในวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ล้วนมีความแตกต่างกัน ทั้งด้านคุณวุฒิ และวัยวุฒิ รวมไปถึงอุปนิสัยใจคอที่แตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิตทุกท่านต่างคาดหวังไว้ก็คือ การประกันคุณภาพการศึกษาตามหลักอิทธิบาท ๔ ที่ดีและมีมาตรฐาน ซึ่งสิ่งนี้มิอาจเกิดขึ้นได้หากผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต นำไปบูรณาการใช้จริงในการบริหารงานและเรียนรู้ปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพ เพื่อนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ
ดาวน์โหลด |