บทคัดย่อ
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และเพื่อเปรียบเทียบบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ-
ราชวิทยาลัย ตามความคิดเห็นของบุคลากรมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สายวิชาการ สายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป จากส่วนกลาง วิทยาเขต และวิทยาลัยสงฆ์ จำนวน ๒๘๕ รูป/คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าความถี่(Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) สถิติทดสอบค่าที (t-test)และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance: F-test)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่า โดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับปานกลางเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยดังนี้ ๑) บรรยากาศองค์การแบบปิด ๒) บรรยากาศองค์การแบบอิสระ ๓) บรรยากาศองค์การแบบเปิด ๔) บรรยากาศองค์การแบบเป็นกันเอง ๕) บรรยากาศองค์การแบบควบคุม และ ๖) บรรยากาศองค์การแบบฉันท์พ่อกับลูก
๒. ผลการทดสอบสมมติฐานเป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยตามทรรศนะของบุคลากรมหาวิทยาลัย โดยภาพรวม พบว่าบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ที่มีเพศ ตำแหน่ง อายุ และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกันมีทรรศนะเกี่ยวกับบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
ดาวน์โหลด |