บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดสิงห์บุรี เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อปัญหาการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดสิงห์บุรีโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดสิงห์บุรี เป็นเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีเชิงสำรวจ (Survey Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่จัดทำขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test ) ที่รวบรวมได้จากพระสอนศีลธรรมในจังหวัดสิงห์บุรี ๑๐๐ รูป มาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป การวิเคราะห์ข้อมูลทางสังคมศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที(t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One way ANOVA ) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD ) และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า พระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดสิงห์บุรีอายุระหว่าง ๔๑-๖๐ ปีมากที่สุดเป็นจำนวน ๔๖ รูป คิดเป็นร้อยละ ๔๖.๐๐ และอายุตั้งแต่ ๖๑ ปี ขึ้นไปเป็นจำนวน ๒ รูปน้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ ๒.๐๐ การศึกษาทางธรรมพบว่า พระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดสิงห์บุรี มีนักธรรมชั้นเอกมากที่สุดเป็นจำนวน ๘๐ รูป คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๐๐ นักธรรมชั้นตรี ๒ รูป น้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ ๒.๐๐ การศึกษาเปรียญธรรมพบว่า พระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดสิงห์บุรี ไม่มีเปรียญมีมากที่สุดเป็นจำนวน ๗๔ รูป คิดเป็นร้อยละ ๗๔.๐๐ เปรียญธรรม ๗ – ๙ มีจำนวน ๑ รูป น้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ ๑.๐๐ การศึกษาทางโลกพบว่า พระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดสิงห์บุรี มีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษา / ปวช มากที่สุดเป็นจำนวน ๔๙ รูป คิดเป็นร้อยละ ๔๙.๐๐ การศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีเป็นจำนวน ๓ รูป น้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ ๓.๐๐ ตำแหน่งทางคณะสงฆ์พบว่า พระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดสิงห์บุรี พระลูกวัดเป็นจำนวน ๕๕ รูป คิดเป็นร้อยละ ๕๕.๐๐ เจ้าคณะตำบล ๖ รูป น้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ ๖.๐๐ ประสบการณ์ในการสอนพบว่า พระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดสิงห์บุรี มีประสบการณ์ในการสอน ระหว่าง ๐ – ๕ ปี มากที่สุดเป็นจำนวน ๖๙ รูป คิดเป็นร้อยละ ๖๙.๐๐ ระหว่าง ๑๑ – ๑๕ เป็นจำนวน ๒ รูป และ ๑๖ ปีขึ้นไปเป็นจำนวน ๒ รูป น้อยเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ ๒.๐๐ เงินค่าตอบแทน (โดยค่านิตยภัตร)ที่เหมาะสมพบว่า พระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดสิงห์บุรี ต้องการตามวุฒิการศึกษา จำนวน ๓๙ รูป คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๐๐ ต้องการ ๑๐๐๐๐ บาท / เดือน เป็นจำนวน ๑๒ รูป น้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ ๑๒.๐๐ มีความต้องการสอนศีลธรรมในโรงเรียนพบว่า พระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดสิงห์บุรี ต้องการสอนน้อยมีมากที่สุดจำนวน ๕๑ รูป คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๐๐ ต้องการสอนมากมีจำนวน ๑ รูป น้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ ๑.๐๐ และเป็นที่น่าสังเกตว่าความต้องการน้อยกับน้อยที่สุดรวมกันถึง ๖๗ รูปคิดเป็นร้อยละ ๖๗.๐๐
ปัญหาการเรียนการสอนเรียงจากมากไปหาน้อยในด้านทั้ง ๔ คือ ด้านหลักสูตร / เนื้อหา ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการใช้สื่อการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล พบว่า ด้านที่มีปัญหามากที่สุดคือ ด้านการวัดผลและประเมินผล ( = ๓.๖๒๒๕) รองลงมาคือ ด้านการใช้สื่อการสอน ( = ๓.๕๙๕๐) ด้านที่มีปัญหาอันดับ ๓ คือด้านหลักสูตร ( = ๓.๕๖๔๐) ด้านที่มีปัญหาน้อยที่สุดก็คือด้านการจัดการเรียนการสอน ( = ๓.๒๐๘๘)
เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดสิงห์บุรี ต่อปัญหาการจัดเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดสิงห์บุรี พบว่าพรรษา, การศึกษาทางธรรม, การศึกษาเปรียญธรรม, การศึกษาทางโลก, ตำแหน่งทางคณะสงฆ์, ประสบการณ์ในการสอน, เงินค่าตอบแทนในการสอน (โดยค่านิตยภัตร) ที่เหมาะสม และความต้องการสอนศีลธรรมในโรงเรียนที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อปัญหาการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมไม่แตกต่างกัน มีเพียงตัวแปรอิสระคืออายุเท่านั้นที่มีผลต่อระดับความคิดเห็นต่อการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดสิงห์บุรี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕
ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน มีดังต่อไปนี้ ควรที่จะมีนโยบายสำหรับการจัดอุปกรณ์การเรียนการสอนให้เพียงพอ โรงเรียนควรจัดระบบการอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองของพระสอนศีลธรรมและโรงเรียนควรมีการสาธิตเกี่ยวกับการเรียนการสอนและการผลิตสื่อการเรียนการสอน โรงเรียนควรจัดตารางสอนให้เหมาะสมและควรจัดงบประมาณให้เพียงพอในการผลิตสื่อการเรียนการสอน
ดาวน์โหลด |