หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมุห์สังวาลย์ จนฺทวณฺโณ (ทรัพย์ใหญ่)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๓ ครั้ง
การศึกษาความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน : กรณีศึกษาวัดสวนมะม่วง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
ชื่อผู้วิจัย : พระสมุห์สังวาลย์ จนฺทวณฺโณ (ทรัพย์ใหญ่) ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สิน งามประโคน พธ.บ., M.A., Ph.D.
  ผศ.ดร.สมศักดิ์ บุญปู่ พธ.บ., M.A., Ph.D.
  ผศ.ดร.อินถา ศิริวรรณ พธ.บ., M.Ed., Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑)  เพื่อศึกษาระดับความความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน วัดสวนมะม่วง   อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ๒)  เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  วัดสวนมะม่วง   อำเภอสามโคก  จังหวัดปทุมธานี โดยจำแนกตามปัจจัยพื้นฐาน  ๓)  เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  วัดสวนมะม่วง   อำเภอสามโคก  จังหวัดปทุมธานี

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ  แบบสอบถาม  กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่วัดสวนมะม่วง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี  จำนวน  ๒๗๘  คน   การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์   ได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test, F-test (One-Way ANOVA )

ผลของการศึกษา

๑.  ประชาชนมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่วัดสวนมะม่วง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาความพึงพอใจในแต่ละด้าน ผลการศึกษาที่ได้คือ ประชาชนมีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับด้านอื่น ๆ  รองลงมาได้แก่ ด้านผู้สอน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ อยู่ในเกณฑ์ระดับมากที่สุด และด้านเนื้อหา อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก 

 

๒.  ผลการปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่วัดสวนมะม่วง  พบว่า ในภาพรวมประชาชนมีอาชีพ และประสบการณ์ในการปฏิบัติที่ต่างกัน มีความพึงพอใจแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ประชาชนมีวุฒิการศึกษา และรายได้ต่างกัน มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ประชาชนมีเพศ อายุ อาชีพ และประสบการณ์ในการปฏิบัติ ที่ต่างกัน มีความพึงพอใจในแต่ละด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  

๓.  ผลการศึกษาถึงข้อเสนอแนะของประชาชนที่มีต่อศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานวัดสวนมะม่วง พบว่า ด้านผู้สอน ผู้สอนควรมีวิธีการสอน และอุปกรณ์ประกอบการสอนที่หลากหลายควรเปลี่ยนการสอนในห้องมาเป็นการพาออกไปข้างนอกห้องบ้าง ผู้สอนควรแต่งกายให้เรียบร้อยไม่ลุ่มล่าม  ด้านเนื้อหา ทางศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ควรจัดเนื้อหาที่สอนโดยสอดแทรกและปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมเข้าไปด้วย มีการนำนิทานหรือชาดกที่มีคติธรรมมาสอดแทรกในเนื้อหาการสอน  ด้านสภาพแวดล้อม สถานที่ล้างจานควรมีหลังคามุงบังให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันแดดและฝน และควรปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น เพื่อสร้างความร่มรื่นมากขึ้น  ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ควรมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำ และช่วยเหลือผู้ที่มาใหม่ ควรมีป้ายบอกทาง หรือบอกจุดสำคัญ ๆ  เพื่อให้คนที่มาใหม่ได้รู้และไม่สับสน

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕