บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง “การศึกษาการบริหารงานบุคคล ตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ของบุคลากรการศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา เขต ตลิ่งชันกรุงเทพมหานคร ” ครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการศึกษาการบริหารงานบุคคล ตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ของบุคลากรการศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา เขต ตลิ่งชันกรุงเทพมหานครและ ๒) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมด้านการศึกษาการบริหารงานบุคคล ตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ของบุคลากรการศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา เขต ตลิ่งชันกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตตลิ่งชันกรุงเทพมหานคร จำนวน ๑๘๐ คน โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างของ R.V.Krejecie และ D.W. Morgan สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าความถี่และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติทดสอบค่าที (t-test) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance: F-test) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์สถิติสำเร็จรูป ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
๑. ผลการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของครู เกี่ยวกับการศึกษาการบริหารงานบุคคล ตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการศึกษาการบริหารงานบุคคล ด้านการวางแผนงานบุคคล โดยภาพรวม พบว่า มีการบริหารงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายข้อคำถาม พบว่า การบริหารงานส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก คือ ผู้บริหารมีการวางแผนอัตรากำลังอย่างเหมาะสมกับงบประมาณที่ได้มา ๑) ผู้บริหารให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวางแผนงานตามกำหนดที่เหมาะกับสถานการณ์ ๒) ผู้บริหารมีการวางแผนงานบุคลากรโดยให้ผู้มีความสามารถและเกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ๓) ผู้บริหารมีการวางแผนงานบุคคลที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับการพัฒนาชุมชน ๔) ผู้บริหารมีความรู้ในการวางแผนอัตรากำลังอย่างถี่ถ้วน ๕) ผู้บริหารมีความรู้ในการวางแผนอัตรากำลังอย่างถี่ถ้วน และ ๗) ผู้บริหารมีการกำหนดแผนงานบุคลากรทำงานอย่างเหมาะสม ตามลำดับ
๒. ผลการศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคบของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ จำแนกตามเพศ โดยการทดสอบค่าที (t-test) โดยภาพรวม พบว่า ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านก็พบว่า ไม่แตกต่างกัน
ส่วนด้านอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยการศึกษาความแปรปรวนทางเดียว (One – Way Analysis of Variance: ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การศึกษาการบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ โรงเรียนมัธยมศึกษา เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานครที่มีอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการสอนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ไม่แตกต่างกัน
ดาวน์โหลด |