หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาอุดร ปญฺญาวฑฺฒโก (จันทร์ชนะ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๒ ครั้ง
การศึกษาความคาดหวังของนักเรียนบาลีชั้นเปรียญเอกหลังจบการศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร ภาค ๑
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาอุดร ปญฺญาวฑฺฒโก (จันทร์ชนะ) ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย พธ.บ., M.Ed., Ph.D.
  ผศ.ดร.สิน งามประโคน พธ.บ., M.A., Ph.D.
  ผศ.ดร.อินถา ศิริวรรณ พธ.บ. B.A., M.Ed., Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                     การศึกษาเรื่อง การศึกษาความคาดหวังของนักเรียนบาลีชั้นเปรียญเอกหลังจบการศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร ภาค ๑มีวัตถุประสงค์๑) เพื่อศึกษาความคาดหวังของนักเรียนบาลีชั้นเปรียญเอกหลังจบการศึกษา๒) เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังของนักเรียนบาลีชั้นเปรียญเอกหลังจบการศึกษา จำแนกตามปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่ สถานภาพ อายุ  พรรษา วิทยฐานะทางธรรม วิทยฐานะทางโลก และตำแหน่งหน้าที่ และ ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความคาดหวังของนักเรียนบาลีชั้นเปรียญเอกหลังจบการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ นักเรียนบาลีชั้นเปรียญเอก ในเขตกรุงเทพมหานคร ภาค ๑จำนวน ๒๖๕รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency)ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’post hoc comparison)

 

                     ผลการศึกษาพบว่า

                     ๑. การศึกษาความคาดหวังของนักเรียนบาลีชั้นเปรียญเอกหลังจบการศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร ภาค ๑ทั้ง ๕ ด้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ความคาดหวังการเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ความคาดหวังความเคารพนับถือของสังคม

ความคาดหวังในปัจจัยพื้นฐานของชีวิต ความคาดหวังในความมั่นคงของชีวิตและความคาดหวัง               ความประสบความสำเร็จสูงสุดของชีวิต

                     ๒.  ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักเรียนมีพรรษาต่างกัน มีความคาดหวังหลังจบการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งตรงตามสมมติฐานที่ว่า นักเรียนมีพรรษาต่างกัน มีความคาดหวังหลังจบการศึกษา แตกต่างกัน ส่วนนักเรียนมีสถานภาพ อายุ วิทยฐานะทางธรรม วิทยฐานะทางโลก และตำแหน่งหน้าที่ ต่างกันมีความคาดหวังหลังจบการศึกษาไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งไม่ตรงตามสมมติฐานที่ว่า นักเรียน มีสถานภาพ อายุ วิทยฐานะทางธรรม วิทยฐานะทางโลก และตำแหน่งหน้าที่ ต่างกัน              มีความคาดหวังหลังจบการศึกษาแตกต่างกัน

                     ๓. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความคาดหวังของนักเรียนบาลีชั้นเปรียญเอกหลังจบการศึกษา
ในเขตกรุงเทพมหานคร ภาค ๑ พบว่า นักเรียนมีความคาดหวังว่าหลังจบการศึกษาจะได้รับความสะดวกสบายในเรื่องเครื่องอุปโภคบริโภคตามสมควรแก่ฐานะหน้าที่คาดหวังว่าหลังจบการศึกษาจะได้ศึกษาต่อเมื่อลาสิกขาคาดหวังว่าหลังจบการศึกษาจะได้รับโอกาสทำงานด้านการปกครองของคณะสงฆ์ตามความรู้ความสามารถคาดหวังว่าหลังจบการศึกษาจะได้รับการสนับสนุนเมื่อทำงานด้านการปกครองของคณะสงฆ์ตามความรู้ความสามารถและความคาดหวังที่จะเป็นผู้ประสบความ
สำเร็จสูงสุด
ด้านการปกครองคณะสงฆ์ของนักเรียนบาลี

ดาวน์โหลด                          

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕