หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระกันยา สุจิณฺโณ (กุลนะวงศ์
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๓ ครั้ง
การจัดการเรียนการสอนในวิทยาลัยสงฆ์วัดหลวง แขวงจำปาสัก ประเทศสาธารณะรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว
ชื่อผู้วิจัย : พระกันยา สุจิณฺโณ (กุลนะวงศ์ ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูปลัดมารุต วรมงฺคโล, ผศ.ดร.พธ.บ. B.A., M.A., M.Ed., Ph.D.
  พระมหาสหัส ฐิตสาโร, ผศ. ปธ.4, พธ.บ. B.A., MA.
  ผศ.ดร.ชวาล ศิริวัฒน์ พธ.บ. B.A., M.A. M.Ed., Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : 2556
 
บทคัดย่อ

 

                                                             บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนในวิทยาลัยสงฆ์ จำปาสัก แห่งประเทศ สาธารณะรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการผลิตและการใช้สื่อการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล เปรียบเทียบการจัดการเรียนการสอนจำแนกตามตัวแปรต้น ได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์ทำงาน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครู ปีการศึกษา 2555 จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA) และการทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’ post hoc comparison) การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปของวินโดว์

 

ผลการศึกษา พบว่า

1) ระดับการจัดการเรียนการสอนในวิทยาลัยสงฆ์ จำปาสัก แห่งประเทศ สาธารณะรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการวางแผนการสอน ด้านการผลิตและการใช้สื่อการเรียนการสอน ตามลำดับ

 

2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริหารและครูที่มี เพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีการจัดการเรียนการสอน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่ตรงตามสมมติฐานที่ว่า ผู้บริหารและครูที่มีเพศ อายุ วุฒิการศึกษาและประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีการจัดการเรียนการสอนต่างกัน ส่วนผู้บริหารและครู ที่มีตำแหน่งต่างกัน มีการจัดการเรียนการสอนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งตรงตามสมมติฐานที่ว่า ผู้บริหารและครูที่มีตำแหน่งต่างกัน มีการจัดการเรียนการสอนแตกต่างกัน

3) แนวทางการศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบการการจัดการเรียนการสอน ในวิทยาลัยสงฆ์ จำปาสัก ประเทศลาว ทัง 4 ด้าน พบว่า ยังมีสภาพปัญหาอุปสรรคที่ควรมีการปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นซึ่ง ผู้บริหารควรนำข้อเสนอแนะ มาร่วมพิจารณาหาผลดี ผลเสียในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ได้แนวทางในการพัฒนา การแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ เพื่อให้การเรียนการสอน ในวิทยาลัยสงฆ์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕