หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาอนันต์ อนนฺโท (รัตนทอง)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๓ ครั้ง
การศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยชุมชน
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาอนันต์ อนนฺโท (รัตนทอง) ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุวรรณเมธาภรณ์, ผศ. พธ.บ., M.A.
  ผศ.ดร. สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย พธ.บ., M.Ed., Ph.D.
  ผศ.ดร. ชวาล ศิริวัฒน์ พธ.บ., M.Ed., Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยชุมชน และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยชุมชน ๔ ด้าน คือ       ๑. การจัดหลักสูตร ๒. การจัดการเรียนการสอน ๓. การจัดครูผู้สอน และ ๔. การพัฒนานักศึกษา    โดยได้สุ่มกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาวิทยาลัยชุมชน จำนวน ๒๓๐ คน  โดยใช้แบบสอบถาม     ในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อคำนวณหาค่าสถิติต่าง ๆ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean), และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D

                    

                     ผลการศึกษาพบว่า

                     ๑. ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยชุมชน ๔ ด้าน คือ ด้านการจัดหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดครูผู้สอน และด้านการพัฒนานักศึกษา โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผลการศึกษาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านการจัดหลักสูตร ด้านการพัฒนานักศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการจัดครูผู้สอน ตามลำดับ

                     ๒. ผลศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยชุมชน มีดังนี้ ๑) ด้านการจัดหลักสูตร ควรเพิ่มจำนวนหลักสูตรให้มีความหลากหลายสอดคล้องกับความต้องการเรียนของผู้เรียน และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้นเกี่ยวกับหลักสูตรที่ใช้ในการเรียนการสอนต่อกลุ่มที่มีความสนใจ รวมถึงเรื่องการรับสมัครเข้าศึกษาต่อ ๒) ด้านการจัดการเรียนการสอน ควรจัดเอกสารประกอบการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจมากขึ้น การเรียนควรให้เวลากับผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง พาไปดูงานนอกห้องเรียนและปฏิบัติจริงได้ หรือวิทยาลัยจัดวิชาการปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี มีเทคนิคในการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนวิชานั้นๆ ให้นักศึกษาได้มีการแสดงความคิดเห็นและฝึกให้นักศึกษามีความกล้าแสดงออกต่อหน้าสาธารณชน ๓) ด้านการจัดครูผู้สอน อยากให้ครูผู้สอนมีการยืดหยุ่นในการให้การบ้านเพราะผู้มาเรียนมีอายุสูงและมีครอบครัว เมื่ออาจารย์ไม่มาสอน ควรมีอาจารย์อื่นเข้าสอนแทน อาจารย์ควรสอนช้าๆ ให้ผู้เรียนได้เข้าใจ ควรให้มีการประเมินการสอนของครูผู้สอน ๔) ด้านการพัฒนานักศึกษา ควรปรับความรู้พื้นฐานของนักศึกษาให้ใกล้เคียงกันและเหมาะสมกว่านี้ ควรจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนบ้าง เพราะจะทำให้ผู้เรียนไม่เกิดความเบื่อและเพื่อให้ผู้เรียนสนุกกับการเรียนมากยิ่งขึ้น อยากให้มีการจัดหาแหล่งเรียนรู้ให้กับนักศึกษา

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕