บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ในชีวิตประจำวัน : กรณีศึกษาพุทธศาสนิกชนผู้ที่เข้าร่วมการปฏิบัติธรรมวัดภัททันตะอาสภาราม จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) เพื่อศึกษาหลักการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ๒) เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานหลักสติปัฏฐาน ๔ ในชีวิตประจำวัน ๓) เพื่อศึกษาความแตกต่างการประยุกต์การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน หลักสติปัฏฐาน ๔ ในชีวิตประจำวัน จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลประกอบด้วยเพศ,อายุ,สมรส,ระดับการศึกษา, อาชีพปัจจุบัน,ประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรม กลุ่มตัวอย่างจากผู้ที่เข้าร่วมการปฏิบัติธรรม วัดภัททันตะอาสภาราม จังหวัดชลบุรี สถิติที่ใช้ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution) ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) ขอบเขตจำนวนประชากรจำนวน๓๓๒ คน และขอบเขตด้านเวลา : ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลศึกษาแบบเชิงสำรวจ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
๑. ผลการวิเคราะห์หลักการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฏฐาน ๔
ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก พบว่า การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ที่มีสติเป็นประธาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง โดยการพิจารณาหรือการกำหนดรู้กาย เวทนา จิตและธรรม โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ ความดับทุกข์ รู้จักการรักษาคุ้มครองจิตด้วยวิธีการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดละความวุ่นวายและทำให้เกิดความเข้มแข็งนำมาใช้ในการปฏิบัติงานทุกอาชีพ เพราะจิตที่พัฒนาดีแล้วย่อมมีความสงบสุข และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและตนเอง และเป็นการยกระดับให้จิตสูงขึ้น
๒. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ๓๘.๖ % ส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ร้อยละ ๕๔.๕% ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ ๘๒.๘% มีระดับการศึกษามัธยม คิดเป็นร้อยละ ๕๘.๑% มีอาชีพนักศึกษา คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๒% ประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรมมากกว่า ๒ ครั้งขึ้นไปต่อปี คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๖%
๓. ผลการวิเคราะห์ระดับการประยุกต์ใช้หลักวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ในชีวิตประจำวัน พบว่า ระดับการประยุกต์ใช้หลักวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ในชีวิตประจำวัน โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๗ คือ ด้านกายานุปัสสนา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๔ ด้านเวทนานุปัสสนามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๙ ด้านจิตตานุปัสสนามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๔๘ ด้านธัมมานุปัสสนามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๖๖ อยู่ในระดับมาก
๔. ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างระดับการประยุกต์ใช้หลักวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ในชีวิตประจำวัน พบว่า โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างที่มี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพปัจจุบัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพสมรส แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ และประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรมที่ต่างกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
ดาวน์โหลด
|