หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูหริภูมิรักษ์ (ชันยา อติฉนฺโท)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๘ ครั้ง
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเจ้าคณะตำบลตามความคิดเห็นของเจ้าอาวาสและพระเลขานุการในจังหวัดนครปฐม
ชื่อผู้วิจัย : พระครูหริภูมิรักษ์ (ชันยา อติฉนฺโท) ข้อมูลวันที่ : ๐๖/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol. Sc.)
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโ, ผศ., พธ.บ, (เกียรตินิยมอันดับ ๑)ศศ.ม., รป.ม.(การจัดการความขัดแย้ง)
  อาจารย์ ดร.ยุทธนา ปราณีต, พธ.บ., รบ., M.A. (Politics), Ph.D. (Pol. Sc.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเจ้าคณะตำบลตามความคิดเห็นของเจ้าอาวาสและพระเลขานุการในจังหวัดนครปฐม ๒) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเจ้าคณะตำบลตามความคิดเห็นของเจ้าอาวาสและพระเลขานุการในจังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเจ้าคณะตำบลในจังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quality Research)
ทีเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth Interview)

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เจ้าอาวาสและพระเลขานุการในจังหวัดนครปฐม จำนวน ๒๐๐ รูป ซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้มี ๒ ชนิด ได้แก่ ๑. แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับและแบบสอบถามปลายเปิด . แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐานค่าที (t–test)

ผลการวิจัย พบว่า

๑. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเจ้าคณะตำบลตามคิดเห็นของเจ้าอาวาสและพระเลขานุการในจังหวัดนครปฐม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =.๐๓) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง ๔ ด้าน สำหรับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดได้แก่ ด้านข้อวัตรปฏิบัติ ( =.๑๑) รองลงมาได้แก่ ด้านภาวะผู้นำ ( =.๐๓) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ ด้านความรู้การศึกษาอบรม ( =.๙๘)

๒. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเจ้าคณะตำบลตามความคิดเห็นระหว่างเจ้าอาวาส
และพระเลขานุการในจังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐาน ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่า เจ้าอาวาสและพระเลขานุการ ต่างก็เป็นผู้ที่มีศีลาจารวัตรที่จะต้องอยู่ในศีล จำนวน ๒๒๗ ข้อเช่นเดียวกัน ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยเหมือน ๆ กัน จึงมีความคิดเห็นที่คล้อยตามกัน

                                ๓. ปัญหาส่วนใหญ่ที่มีต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเจ้าคณะตำบลตามความคิดเห็นระหว่างเจ้าอาวาสและพระเลขานุการในจังหวัดนครปฐม คือ ผู้นำไม่มีความน่าเชื่อถือ ไม่สามารถที่จะให้คำปรึกษากับผู้อื่นได้ ผู้นำไม่มีความรู้ ความสามารถที่จะอบรมใครได้ และส่วนมากจะพูดจาวางตนไม่สมแก่การเป็นผู้นำที่ดี

                    ๔. ข้อเสนอแนะจากการวิจัยเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเจ้าคณะตำบลตามความคิดเห็นระหว่างเจ้าอาวาสและพระเลขานุการในจังหวัดนครปฐม พบว่า พระสังฆาฏิการควรพัฒนาปรับปรุงในด้านความรู้ การศึกษาอบรมให้มากขึ้น และพัฒนาศักยภาพของบุคลากรอยู่เสมอ
ควรมีความสามารถใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ และมีจัดการศึกษาอบรมให้แก่ พระภิกษุสามเณรในตำบลมากขึ้นและควรช่วยเหลือหน่วยงานราชการตามกำลังความสามารถ

                   ๕. ในการปกครองคณะสงฆ์เจ้าคณะตำบลต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในหน้าที่ มีภาวะผู้นำที่ดี มีหลักเกณฑ์ สามารถให้คำปรึกษา ดูแล แนะนำต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ชี้แนะในทางที่ถูกที่ควร  เพื่อให้งานของคณะสงฆ์ดำเนินไปได้ด้วยดี

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕