หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูวิเวกวราภรณ์ (ประสิทธิ์ ฐานวโร)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๓ ครั้ง
บทบาทของพระธรรมทูตที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ชื่อผู้วิจัย : พระครูวิเวกวราภรณ์ (ประสิทธิ์ ฐานวโร) ข้อมูลวันที่ : ๐๖/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม พ.ม., พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol. Sc.)
  พระมหาบุญเลิศ อินทปญฺโ ผศ.ป.ธ.๗, พธ.บ., ป.ขส., ศศ.ม.รป.ม.
  ผศ.ดร.เติมศักดิ์ ทองอินทร์ ปก.ศ.สูง., พธ.บ., M.A., Ph.D.(Pol.Sc)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัย เรื่อง  บทบาทของพระธรรมทูตที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์มีวัตถุประสงคของการวิจัย เพื่อศึกษาบทบาทของพระธรรมทูตที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์  เพื่อเปรียบเทียบคิดเห็นของครู และนักเรียนต่อบทบาทของพระธรรมทูตที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ จำแนกตามปจจัยสวนบุคคล และเพื่อศึกษาปญหาอุปสรรค และขอเสนอแนะ ต่อบทบาทของพระธรรมทูต ที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ จําแนกตามกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครู และ นักเรียน จำนวน ๓๘๔ คน การวิจัยครั้งนี้สร้างแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบร่วมข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ สถานภาพ เพศ อายุ ชั้นปีที่ศึกษา/วุฒิการศึกษา จำนวนครั้งที่ฟ้งธรรม สถานที่ในการฟังธรรม ระยะเวลาในการฟังธรรม และสอบถามแบบปลายเปิด (Openond questions) เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ได้แก่ความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบบทบาทของพระธรรมทูตที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ด้านเนื้อหาการอบรมบรรยาย ด้านเทคนิคและวิธีการนำเสนอ  และด้านรูปแบบการบรรยายธรรม วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าความถี่ (Frequency)ารอยละ (Percentage) เฉลี่ยเลขคณิต (Mean) และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (Standard Deviation) การทดสอบคาความถี่ (t-test) ในกรณีตัวแปรสองกลุ่ม และทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรสามกลุ่มขึ้นไป และทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑)      บทบาทของพระธรรมทูตที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง  จังหวัดสุรินทร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = ๔.๐๕) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  พบว่าครูและนักเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของพระธรรมทูตที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนมัธยมศึกษาในระดับมากทุกข้อ

๒)      ผลการเปรียบเทียบระดับบทบาทของพระธรรมทูตที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง  จังหวัดสุรินทร์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล คือสถานภาพ เพศ อายุ ชั้นปีที่ศึกษา/วุฒิการศึกษา จำนวนครั้งที่ฟังธรรม สถานที่ในการฟังธรรม ระยะเวลาในการฟังธรรม พบว่า ครู และ นักเรียนที่มีเพศ อายุ ชั้นปีที่ศึกษา/วุฒิการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของของพระธรรมทูตที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ แตกต่างกัน อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนครู และ นักเรียนที่มี สถานภาพ จำนวนครั้งที่ฟังธรรม สถานที่ในการฟังธรรม ระยะเวลาในการฟังธรรม มีความคิดเห็นต่อบทบาทของของพระธรรมทูตที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓)      ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับบทบาทของพระธรรมทูตที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ด้านปัญหาและอุปสรรค พระธรรมทูตบางรูป ไม่คอยมีการสาธิต หรือการยกตัวอย่างเปรียบเทียบ เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจได้มากขึ้น เวลาในการบรรยายน้อยเกินไป ไม่มีช่วงที่เปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้สนทนาสอบถาม เพื่อให้เกิดความเข้าใจในข้อปฏิบัติให้ชัดเจน ขาดสื่ออุปกรณ์ในการนำเสนอประกอบการบรรยาย เพื่อจูงใจให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจมากขึ้น ความจูงใจ โดยขาดการใช้วิธีการสนทนา ถามตอบปัญหาจากเรื่องที่ได้บรรยายแล้ว พระธรรมทูตบางรูปยังขาดการใช้วิธีนำเสนอที่ดี เพราะขาดความรู้ทางธรรมะ ใช้เวลาบรรยายยาวเกินไป ทำให้เกิดดึงเครียดแก่ผู้ฟัง

สำหรับข้อเสนอแนะ พบว่าไม่คอยมีการสาธิต หรือการยกตัวอย่างเปรียบเทียบ เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจได้มากขึ้น ควรมีเวลาในการบรรยายให้มากกว่านี้ และควรเวรเวลาไว้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้สอบถามบ้างตามสมควร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนด้านอุปกรณ์การเผยแผ่ และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านอื่นๆ ควรมีการสนทนาโต้ตอบกับผู้ฟัง เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการเรียนรู้ร่วมกันให้เพิ่มมากขึ้น ควรใช้วิธีการนำเสนอแบบง่าย เช่นเล่านิทานชาดก มาประกอบบ้าง ลดเนื้อหาในการบรรยายลงบ้าง สอดแทรกเรื่องสนุกขำขันบ้างเพื่อให้ผ่อนคลายไม่เครียด

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕