หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการชัยรัตน์ อภินนฺโท (อนันต์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๒ ครั้ง
การศึกษาอิทธิพลความเชื่อเรื่องวัตถุมงคลที่มีต่อชาวอำเภอโนนคูณจังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการชัยรัตน์ อภินนฺโท (อนันต์) ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฒฺโน,ดร.
  พระครูศรีปริยัตยาภิวัฒน์,ดร.
  ผศ.ดร.บุญเลิศ ราโชติ
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                         การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาอิทธิพลความเชื่อเรื่องวัตถุมงคลที่มีต่อชาวอำเภอโนนคูณ  จังหวัดศรีสะเกษ”  มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑)  เพื่อศึกษาความเชื่อเรื่องวัตถุมงคล       ๒) เพื่อศึกษาอิทธิพลความเชื่อของวัตถุมงคลที่มีต่อสังคมไทย ๓) เพื่อศึกษาอิทธิพลความเชื่อของวัตถุมงคลที่มีต่อชาวอำเภอโนนคูณ  จังหวัดศรีสะเกษ  โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพคือเน้นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และวิจัยภาคสนาม (Field Research) ผลการวิจัยพบว่า

                        สังคมไทยเป็นสังคมอยู่บนหลักพื้นฐานแห่งความเชื่อเกี่ยวกับวัตถุมงคลต่าง ๆ เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินวิถีชีวิต แต่บางครั้งก้าวเกินขอบเขตการใช้ปัญญา จนความเชื่อกลายเป็นเครื่องงมงาย ไร้เหตุผล ซึ่งความเชื่อเกี่ยวกับวัตถุมงคลว่า มีสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์มีฤทธานุภาพสามารถป้องกันอันตรายต่าง ๆ ได้ แต่วัตถุมงคลบางอย่างเป็นกุศโลบายสอนทั้งทางออมและทางตรง

         อิทธิพลความเชื่อเรื่องวัตถุมงคลที่มีต่อชาวอำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ ๕ ด้าน คือ ด้านอยู่ยงคงกระพัน  ด้านเมตตามหานิยม ด้านโชคลาภ ด้านป้องกันอันตรายและอำนวยความสุข และ ด้านก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตทรัพย์สินและความเป็นอยู่ ซึ่งชาวอำเภอโนนคูณเชื่อว่าสามารถป้องกันตัว การทำการค้าขายดี เป็นที่รักของผู้คน แต่วัตถุมงคลบางประเภทส่งผลกระทบทางลบเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ แต่อย่างไรก็ดีทุกวัตถุมงคลมีหลักพระพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหลักศีลธรรมพื้นฐาน    

         อิทธิพลของความเชื่อวัตถุมงคลที่มีต่อสังคมไทยซึ่งมีลักษณะเป็นความเชื่อลึกลับสลับซับซ้อนเหนือความรู้สึกนึกคิด  ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากระบบความเชื่อในทางศาสนา โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา เชื่อกันว่าพระสูตร หรือ พระปริตรต่าง ๆ มีพุทธานุภาพ สามารถขจัดภัยอันราย  และส่งเสริมความเจริญ สวัสดีมีชัย  สุขกายสบายใจ   อีกความเชื่อส่วนหนึ่งเกิดจากความคิดดั่งเดิม ที่แฝงด้วยคติความเชื่อศาสนาพราหมณ์ โดยเฉพาะการป้องกันตัว การทำการค้าขาย เป็นที่รักใคร่ของผู้คน แต่วัตถุมงคลบางอย่างส่งผลกระทบทางลบเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕