หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการก้าน ตกุสโล (พุ่มสละ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๕๘ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์ระบบวรรณะสี่ตามทัศนะพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการก้าน ตกุสโล (พุ่มสละ) ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี, ผศ.ดร., ป.ธ.๙, กศ.ม., พธ.ด.
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพรต บุญอ่อน ป.ธ.๗, ศษ.บ., กศ.ม., Ph.D.
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์อานนท์ เมธีวรฉัตร ป.ธ.๖, พธ.บ., ศษ.บ., กศ.ม.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาหลักแนวคิดและความเป็นมาของวรรณะสี่ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (๒) เพื่อศึกษาหลักคำสอนเกี่ยวกับระบบวรรณะสี่ และ (๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ระบบวรรณะสี่ตามทัศนะพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร โดยสำรวจข้อมูลชั้นปฐมภูมิ จากพระไตรปิฎก อรรถกถา สำรวจข้อมูลทุติยภูมิ
จากตำราวิชาการ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องผลการศึกษาพบว่า ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ระบบวรรณะ ๔ เป็นโครงสร้างสำคัญยิ่งของมนุษย์ในทุกๆ ด้าน ในการดำรงชีวิต วรรณะ ๔ เกิดจากอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยแบ่งมนุษย์ออกเป็น ๔ ชั้น ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร
ตามพระประสงค์ของพระเจ้า หลักธรรมปฏิบัติเพื่อเข้าสู่อาณาจักรของพระเจ้าต้องผ่านหลักอาศรม ๔ ช่วงวัยแล้วปฏิบัติจนบรรลุโมกษะ อันเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต

พระพุทธศาสนาเถรวาทถือว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมด้วยศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองได้และสามารถจะเปลี่ยนแปลงตนเองจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนได้ ถ้าได้รับการศึกษาและพัฒนาที่ถูกต้อง หลักคำสอนเรื่องวรรณะตามทัศนะพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อแสดง ชี้แจง
และสั่งสอนมวลมนุษย์ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องกรรม ผลของกรรม วิธีปฏิบัติ
ต่อกรรมที่ถูกต้อง และวิธีที่สามารถละลายกรรมให้หมดสิ้นไป ความดี ความชั่วของมนุษย์มิได้ขึ้นอยู่กับชาติกำเนิด ทรัพย์สมบัติหรือวรรณะ แต่ขึ้นอยู่กับการกระทำของมนุษย์เอง

สรุป พระพุทธศาสนาเถรวาทเน้นเรื่องความเสมอภาคของมนุษย์ โดยชี้ไปที่ความรู้ดีและความประพฤติดีว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุด บุคคลผู้มีความรู้ดีและความประพฤติดีเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕