บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ๑) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ๒) เพื่อศึกษาระดับการนำหลักสาราณียธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ๓) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างจำแนกตามเพศอายุและระดับการศึกษา การนำหลักสาราณียธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ๔) เพื่อศึกษาแนวทางการนำหลักสาราณียธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ประชากรได้แก่ บุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด รวมทั้งสิ้น จำนวน ๑๐๓ รูป/คน มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๔ โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีของ Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๘๒ รูป/คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t- test แบบ Independent sample) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test แบบ One way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’)
ผลการวิจัย พบว่า
ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า เพศชาย คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๓๒ และเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๖๘ ซึ่งมีอายุระหว่าง ๒๐ - ๓๕ ปี คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๔๙ อายุระหว่าง ๓๖ - ๕๐ ปี คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๕๙ และมีอายุระหว่าง ๕๑ – ๖๕ ปี คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๙๓ และระดับการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๓๙ ระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๘๘ และปริญญาตรีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ ๒๐.๗๓
ระดับการนำหลักสาราณียธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง ๖ ด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านเมตตากายกรรม ด้านเมตตามโนกรรม ด้านเมตตาวจีกรรม ด้านสาธารณโภคีโภคี ด้านสีลสามัญญตา และ ด้านทิฏฐิสามัญญตา
ผลการเปรียบเทียบของการนำหลักสาราณียธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามเพศ โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
ผลการเปรียบเทียบของการนำหลักสาราณียธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีอายุต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ อยู่ ๓ ด้าน คือ ด้านสาธารณโภคี ด้าน สีลสามัญญตา และด้านทิฏฐิสามัญญตา ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกันทางสถิติ
ผลการเปรียบเทียบของการนำหลักสาราณียธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษาบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด มีระดับการศึกษา ต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้าน มีการนำหลักสาราณียธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะการนำหลักสาราณียธรรมในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ผู้บังคับบัญชาควรติดตามดูแลงานอย่างใกล้ชิด ช่วยแนะนำเมื่อพบปัญหา และเพื่อนร่วมงานควรให้ความเป็นธรรมเสมอภาคกัน มีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน มีน้ำใจช่วยเหลือกัน ฝึกอบรมในเรื่องของกิริยามรรยาทโดยการนำให้เข้ากับหลักธรรมมากที่สุด และฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ จึงจำเป็นต้องรีบดำเนินการพัฒนาโดยเร่งด่วนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ในระดับมากที่สุดต่อไป
ดาวน์โหลด |