หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาถวิล ปิยธมฺโม (ชนิดพจน์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๖ ครั้ง
การศึกษางานนวกรรมและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยงานสาธารณูปการของพระครูโสภณบุญเขต (โสม โสภโณ)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาถวิล ปิยธมฺโม (ชนิดพจน์) ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาประมวล ฐานทตฺโต, ป.ธ. ๖, พธ.บ.(ภาษาไทย), M.A.(Ling), M.A., I.P.R., Ph.D.(Pali&Bud)
  ดร.ประยูร แสงใส ป.ธ.๔, พ.ม., พธ.บ., M.A.(Ed), P.G. DIP.in Journalism, Ph.D.(Education)
  ผศ.ดร.โสวิทย์ บำรุงภักดิ์ ป.ธ. ๗,พ.ม., พธ.บ.(ปรัชญา), M.A.(Bud.), พธ.ด.(พระพุทธศาสนา)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

­­­                     

                      วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์   เพื่อศึกษางานนวกรรมในพระพุทธศาสนา  เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยงานสาธารณูปการของพระครูโสภณบุญเขต (โสม  โสภโณ)  และเพื่อศึกษาผลของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยงานสาธารณูปการของพระครูโสภณบุญเขต    (โสม  โสภโณ) เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีการลงภาคสนาม(Field work) เพื่อสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย แล้วนำบทสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ประกอบด้วย 

ผลการวิจัยพบว่า  งานนวกรรมในทางพุทธศาสนา  เป็นงานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง  เสนาสนะ ซึ่งมีทั้งทรงอนุญาต เช่น วิหาร  เรือนมุงแถบเดียว  เรือนชั้น  เรือนโล้น  และถ้ำ เป็นต้นและไม่ทรงอนุญาต เช่น การสร้างเสนาสนะ มีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงที่ให้ก่อน เป็นต้น  

                      การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยงานสาธารณูปการของพระครูโสภณบุญเขต(โสม โสภโณ)

ท่านเป็นผู้ชำนาญในด้านการก่อสร้างศาสนวัตถุและศาสนสถาน ด้านสาธารณประโยชน์  ด้านศิลปหัตถกรรม เช่น ความชำนาญในงานจักสานสำหรับใช้ในครัวเรือน เช่น กระติ๊บข้าว ไซ  ตระกร้า  กระบุง เป็นผู้นำจิตวิญญาณ ผู้ถ่ายทอดความรู้ศิลปหัตถกรรมให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น เป็นศูนย์รวมด้านศิลปหัตถกรรม วัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ ท่านเป็นครูสอนพระภิกษุสามเณร  ชาวบ้านทั่วไป  เยาวชน  และผู้สูงอายุ  เสมอกัน  ที่ทำมากกว่าบทบาทที่กล่าวคือท่านให้โอกาสศึกษาวิชาชีพแก่ทุกๆ คนในชุมชนตามที่แต่ละคนต้องการเรียนรู้

                      ส่วนผลของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยงานสาธารณูปการของพระครูโสภณบุญเขต(โสม  โสภโณ)  ด้วยการสร้างศาสนวัตถุ เช่น อุโบสถ ศาลาการเปรียญ วิหาร ก่อประโยชน์แก่ชาวพุทธในตำบลป่าสังข์ เช่น ใช้อุโบสถเป็นที่ทำสังฆกรรมและอุปสมบทกุลบุตรในชุมชนพื้นที่นั้น  ศาลาการเปรียญใช้ประกอบพิธีทำบุญของชาวพุทธ  และประชุมสงฆ์รวมถึงชาวบ้าน  วิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป  สิ่งก่อสร้างมีลวดลายงดงาม  มีภาพชาดกไว้ศึกษา  ท่านสร้างอาคารเรียนโรงเรียนบ้านป่าสังข์ – ป่าม่วงวิทยา เพื่อใช้เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนของนักเรียนในชุมชน

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕