หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระบรรจง จิตฺตกโร (ไชยเสนา)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๘ ครั้ง
การประยุกต์หลักไตรสิกขาเพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตของกลุ่มยุวพุทธบ้านผำ อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อผู้วิจัย : พระบรรจง จิตฺตกโร (ไชยเสนา) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาประมวล ฐานทตโตฺ , ป.ธ. ๖, พธ.บ. , M.A.(Ling), M.A., Ph.D. (Pali & Bud)
  ดร.ประยูร แสงใส,ป.ธ.๔., พ.ม., พธ.บ., M. A., P.G.DIP.in journalism., Ph.D.(Ed.)
  ดร.ประจัญ จันเติบ, ปธ.๔, พ.ม., ศน.บ.(ภาษาไทย), ศศ.ม. (ภาษาไทย),Ph.D.(A.I.& A.S, Buddhist Studies)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้  ๑) เพื่อศึกษาประวัติยุวพุทธบ้านผำกับหลักไตรสิกขาในพระพุทธศาสนาเถรวาท  ๒)  เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขา ในการจัดกิจกรรมของกลุ่มยุวพุทธบ้านผำ  ๓)  เพื่อศึกษาผลของการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการดำเนินชีวิตของกลุ่มยุวพุทธบ้านผำ  ผลจากการศึกษาปรากฏว่า  

กลุ่มยุวพุทธบ้านผำ ตำบลเมืองสรวง  อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๓ ถึงปัจจุบันโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เยาวชนเห็นความสำคัญในพระพุทธศาสนา เป็นการปลูกฝังศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีให้กับเยาวชนในการบำเพ็ญกุศลสาธารณะประโยชน์ทำให้เยาวชนรู้จักพิธีกรรมต่างๆ ในทางพระพุทธศาสนา  ตลอดถึงการดำเนินชีวิตเพื่อให้สอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา 

โดยการนำหลักไตรสิกขา มาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่างๆ โดยการจัดกิจกรรมของกลุ่มยุวพุทธบ้านผำ ได้แบ่งออกเป็นประเด็นใหญ่ๆ คือ กิจกรรมเกี่ยวกับประเพณี กิจกรรมเกี่ยวกับชุมชน และกิจกรรมเกี่ยวกับศาสนา  เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นนั้นเพื่อชักนำให้เยาวชนเข้าวัดหรือเข้าร่วมกับชุมชน   เพื่อเป็นการเสริมความรู้ อีกทั้งยังมีโอกาสได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน  เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถยึดถือและปฏิบัติตามหลักการซึ่งเป็นกฎระเบียบของหมู่บ้านได้อย่างถูกต้อง มีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน

                ผลจากการนำหลักไตรสิกขามาประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมของกลุ่มยุวพุทธบ้านผำ  ปรากฏว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรม  มีความประพฤติที่ดี  มีกริยามารยาทเรียบร้อยมีความอ่อนน้อมถ่อมตน เชื่อฟังครูอาจารย์ เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ และผู้ใหญ่ในครอบครัว ปฏิบัติตนกับพระสงฆ์หรือผู้สูงวัยได้ถูกต้อง พูดจาด้วยความเคารพไม่ก้าวร้าว  รู้จักกาล รู้จักเวลาที่เหมาะสม เป็นคนมีเหตุผล มีความตั้งใจในการทำงาน มีจิตสาธารณะ ไม่เห็นแก่ตัวหรือเอาเปรียบผู้อื่น ช่วยเหลืองานบ้านตลอดถึงงานในชุมชน  ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย  เข้าใจในหลักศาสนพิธีและให้ความสำคัญในการช่วยกิจกรรมต่าง ๆในชุมชน ส่วนผู้ไม่เข้าร่วมกิจกรรม  ไม่ได้รับความรู้เพื่อนำมาพัฒนาตนเอง  ไม่มีความสามารถไม่กล้า แสดงออกในชุมชน  ไม่ส่งเสริมตนเองทั้งด้านร่างกายสติปัญญา ไม่สามารถที่จะพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น ไม่คิดและไม่ทำในสิ่งที่สร้างสรรค์  มักจะทำอะไรตามใจตนเอง ไม่รู้ และเข้าใจในศาสนพิธี ไม่มีความสนใจในการเรียนรู้ต่างๆ  อีกทั้งยังเป็นภาระของครอบครัว และชุมชนอีกด้วย

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕