บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เปนการศึกษาแรงจูงใจในการบรรพชาอุปสมบทของพระอสีติมหาสาวก ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ไดกําหนดวัตถุประสงคไว ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฏีการสรางแรงจูงใจ ๒) เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีอิทธิพลในการบรรพชาอุปสมบทของพระอสีติมหาสาวก ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๓) แนวทางการประยุกต์ใช้แรงจูงใจมาใช้ในการบรรพชาอุปสมบทของกุลบุตรในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ผลการศึกษาแนวคิดและทฤษฏีสรุปว่า แรงจูงใจหมายถึงสภาวะที่กระตุนให้ บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาอย่างมีทิศทาง เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยอาศัยแรงขับ ทั้งแรงจูงใจภายใน ทั้งแรงจูงใจภายนอกและปจจัยตางๆ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ เพราะทำให้เข้าใจในเรื่องพฤติกรรมของบุคคลโดยตรง โดยผูสรางแรงจูงใจ ตองมีความสามารถในการนําแนวคิดและทฤษฏีมาปรับใช้บูรณาการอ่านบุคคลและสถานการณ ทั้งสรางสภาพสิ่งแวดลอมใหเหมาะสมเชื่อว่าแรงจูงใจเกิดจาก การคิดอย่างมีหลักการและเหตุผล ทุกคนมีอิสระในการคิด และการกระทำ เพื่อการสร้างแรงจูงใจที่มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล
ผลการศึกษาที่เป็นการวิจัยเชิงเอกสารเกี่ยวกับอิทธิพลที่เป็นการส่งเสริมแรงจูงใจทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาและนักวิชาการได้เสนอไว้ คือ แรงจูงใจที่มีอิทธิพลในการบรรพชาอุปสมบทของพระอสีติมหาสาวกในพระพุทธศาสนาเถรวาท ผู้มีบทบาทสำคัญยิ่ง และเป็นกลุ่มภิกษุผู้บรรลุธรรมขั้นสูงสุด คือ อรหัตผล ทั้ง ๘๐ องค์ สิ่งที่จูงใจ ที่เป็นแรงจูงใจภายนอกและแรงจูงใจภายในที่มีอิทธิพลในการบรรพชาอุปสมบท ได้แก่ แรงจูงใจของความกตัญญู ความศรัทธาเชื่อมั่น จริงใจ ส่วนแรงจูงใจที่เป็นแรงจูงใจภายใน ได้แก่ สิ่งเร้ากระตุ้น แรงขับ จิตใจ ต้องการแสวงหาความสงบระงับ เกิดจากความศรัทธา ความเบื่อหน่ายในสังขาร ค่านิยม สังคม ประเพณี การศึกษา และ ปัจจัยที่ส่งเสริมแรงจูงใจที่มีความสำคัญต่อการบรรพชาอุปสมบทของพระอสีติมหาสาวก ซึ่งได้แก่ การคิดอย่างมีหลักการและเหตุผล เจตนา อุปนิสัย การตั้งความปรารถนา จนเกิดการบรรลุธรรม ผลอันเกิดมาจาก กุศลกรรมอันดี ที่สะสมไว้ในกาลก่อน
ผลการวิเคราะห์ การศึกษาแรงจูงใจในการบรรพชาอุปสมบทของพระอสีติมหาสาวกในพระพุทธศาสนาเถรวาท จะเห็นได้ว่า การบรรพชาอุปสมบทของท่านทั้งหลายเหล่านั้น เกิดจาก พระปัญญาบารมี ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงมีพระกรุณาคุณต่อเวไนยสัตว์ทั้งหลาย จึงเกิดเป็นสิ่งเร้า กระตุ้น เกิดเป็นแรงจูงใจ นำไปสู่ความสำเร็จในการบรรลุธรรม มาจากความเลื่อมใส ศรัทธามั่นในพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงใช้วิธีการสอนด้วยคำพูดสั้น ๆ มีหลักธรรม มีหลักการและเหตุผล ผู้ฟังตรองตามได้ พระพุทธองค์ทรงแสดงพุทธานุภาพเป็นอัศจรรย์ ให้ประจักษ์ในลักษณะที่เป็นการส่งเสริมแรงจูงใจ ได้แก่หลักธรรมชื่อว่า อนุปุพิกถา และอริยสัจ ๔ ซึ่งเป็นหลักธรรมช่วยกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการบรรพชาอุปสมบทของ พระอสีติมหาสาวก ดังนั้นพระพุทธองค์ทรงแสดง พุทธปาฏิหาริย์ ๓ ประการ เพื่อที่ใช้เป็นเครื่องมืออันทรงพลัง ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้น คือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฎิหาริย์ และ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ จนทำให้เหล่าพุทธมหาสาวกทั้งหลายเกิด โยนิโสมนสิการเล็งเห็น และเข้าถึงถึงธรรมด้วยความศรัทธา ที่เชื่อมั่นในพระพุทธองค์ อย่างแรงกล้า จึงกล่าวได้ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นแรงจูงใจ ที่สำคัญยิ่ง
หลักการประยุกต์ใช้แรงจูงใจเพื่อนำมาใช้ในการบรรพชาอุปสมบทของกุลบุตรในพระพุทธศาสนาในพระพุทธศาสนาเถรวาท ในด้านการปฏิบัติ ด้านการศึกษา และตามหลักไตรสิกขา ซึ่งหลักการของแนวคิดและทฤษฎีแรงจูงใจทั้งหมด ผู้วิจัยได้ค้นคว้าจากเอกสารทำให้พบว่าแรงจูงใจ เปรียบเสมือนแรงขับเคลื่อนและกระตุ้น ให้มีการจูงใจ ในการดำรงพระพุทธศาสนาให้สืบไป มีคุณประโยชน์ ทั้งประโยชน์ส่วนตน ประโยชน์ส่วนสังคม และประโยชน์ส่วนพระศาสนา ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต ของบรรพชิตและคฤหัสถ์ ได้อย่างสงบสุขและสมบูรณ์แบบบูรณาการ มีองค์ความรู้ใหม่ ที่มีกระบวนทัศน์ที่ดี สามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิต ไม่เป็นผู้หลง ไม่เป็นผู้ขาดสติ มีความเพียร ความอดทน เข้าใจในหลักธรรม พึ่งตัวเองได้ เกิดประโยชน์กับตนเองและสังคม หลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง จนถึงพระนิพพาน เป็นที่สุด
ดาวน์โหลด |