บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร เรื่อง การศึกษาหลักพุทธธรรมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ (๑) เพื่อศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อม (๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อม และ (๓) เพื่อศึกษาแนวทางนำหลักพุทธธรรมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม พบว่า
สิ่งแวดล้อม หมายถึง "สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา" รวมถึงสิ่งแวดล้อมในโลกนี้เป็นทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ บ้านเรือน ถนน วัด แม่น้ำ ดิน ป่าไม้ กฎระเบียบ เป็นต้น มีลักษณะและประเภทสิ่งแวดล้อมแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ (๑) สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural Environment) แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทย่อย คือ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต) และสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต (๒) สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Mode Environment) แบ่งได้ ๒ ประเภทย่อยคือ ๑ สิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม (Concrete Environment) และ ๒ สิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม (Abstract Environment) เมื่อมีสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นก็ย่อมต้องเจอปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน ในปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยแบ่งออก ๔ หมวดใหญ่ ๆ คือ ปัญหาเกี่ยวกับดินเสื่อมโทรม ปัญหาเกี่ยวกับน้ำ ปัญหาเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ และ ปัญหาเกี่ยวกับป่าไม้ เป็นต้น ล้วนมีสาเหตุมาจากการเพิ่มประชากรมนุษย์ ผลกระทบข้างเคียง (Side Effect) ของการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ขนบธรรมเนียมประเพณี – วัฒนธรรม – ค่านิยม – ความเชื่อ และการยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันนั่นเอง จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์กำลังเผชิญอยู่ อันจะส่งผลกระทบต่อสังคมไทย คือความเป็นอยู่และชีวิตมนุษย์ในปัจจุบันเช่น ซึ่งส่งผลก่อให้เกิดโรคภัยเบียดเบียน เป็นต้น
หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อม พบว่า การพัฒนาสิ่งแวดล้อมตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และ การพัฒนาสิ่งแวดล้อมตามหลักอริยสัจจ์ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และ การพัฒนาสิ่งแวดล้อมตามหลักธรรมนิยาม ๕ คือ ธรรมนิยาม อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตนิยาม และ กรรมนิยาม นั่นหมายความว่า หลักพุทธธรรมเหล่านี้ถ้ามนุษย์มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้วก็จะเข้าใจสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่รอบตัวของมนุษย์เองด้วยเช่นกันก็จะเกิดความรัก ความเมตตาต่อสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต นอกจากนั้นยังมีการสำรวมจิตคิดช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และเอาใจดูแลสิ่งแวดล้อมทางสังคม
การนำหลักพุทธธรรมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมพบว่า สังคมชาวพุทธนั้นเป็นสังคมที่ร่ำรวยปัญญาธรรม คุณธรรม และจริยธรรม คือมีหลักพุทธธรรมให้ได้ศึกษาเรียนรู้ฝึกฝนอบรมตนได้ทั้งส่วนจิตวิญญาณ จิตและกายให้เจริญได้ภายใต้หลักรู้ หลักคิด และหลักปฏิบัติที่ชื่อว่าไตรสิกขา คือ หลักเจริญปัญญา เจริญสมาธิ และเจริญศีล หรือที่รับรู้กันทั่วไปว่าหลักศีล สมาธิ ปัญญา หรือ ให้ละเว้นอกุศลธรรมทั้งปวง แต่เจริญกุศลธรรม และทำจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด หรือหลักอริยสัจ ๔ หลักมรรคมีองค์ ๘ และหลักเหตุผลที่ชื่อว่า อิทัปปัจจตาธรรมเป็นต้น ล้วนเป็นหลักรู้ หลักคิดและหลักปฏิบัติในการพัฒนาตน พัฒนาคน ให้รู้ธรรม คือ รู้สภาวธรรม เห็นธรรม คือ เห็นสัจธรรม ปฏิบัติธรรมคือ ปฏิบัติตามธรรม และปฏิเวธธรรม คือได้ผลตามธรรม ส่งผลต่อการพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คือ การปฏิบัติงานพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์ความเจริญในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด โดยใช้ให้น้อย เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพื่อขจัดปัญหาทางด้านปัญหาเกี่ยวกับดินเสื่อมโทรม ปัญหาเกี่ยวกับน้ำ ปัญหาเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ และ ปัญหาเกี่ยวกับป่าไม้ ของสิ่งแวดล้อมให้หมดไป เพราะหากสิ่งแวดล้อมอยู่ในสภาวะปกติบริสุทธิ์ สดใสตามธรรมชาติ ชีวิตมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหมดก็จะพบกับความสุขสดชื่นไปด้วย โดยการใช้หลักพุทธธรรม คือ หลักไตรสิกขา หลักอริยสัจ ๔ และ หลักธรรมนิยาม ๕ เป็นเครื่องมือในการฝึกความเข้าใจและเห็นใจต่อสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่อยู่รอบตัวเราทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตก็จะถูกดูแลและเอาใจใส่จากมนุษย์ได้อย่างประสิทธิภาพและส่งผลต่อความเจริญและความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทางสังคมแบบยั่งยืนเพื่อสร้างสรรค์ความเจริญในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด โดยใช้ให้น้อย เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพื่อขจัดปัญหาทางด้านปัญหาเกี่ยวกับดินเสื่อมโทรม ปัญหาเกี่ยวกับน้ำ ปัญหาเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ และ ปัญหาเกี่ยวกับป่าไม้ ของสิ่งแวดล้อมให้หมดไป เพราะหากสิ่งแวดล้อมอยู่ในสภาวะปกติบริสุทธิ์ สดใสตามธรรมชาติ ชีวิตมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหมดก็จะพบกับความสุขสดชื่นไปด้วย โดยใช้หลักธรรมเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ดาวน์โหลด |