บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง “การศึกษาเรื่อง “ความคาดหวังของพุทธศาสนิกชนต่อประเพณีบุญสลากภัตวัดตากฟ้าพระอารามหลวง อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์” มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาประเพณีการทำบุญสลากภัตในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาท และประเพณีการทำบุญสลากภัต วัดตากฟ้า พระอารามหลวง จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อศึกษาความคาดหวังในประเพณีการทำบุญสลากภัตของพุทธบริษัทในสังคมไทย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อเสนอแนวทางการอนุรักษ์สืบสานประเพณีการทำบุญสลากภัตของวัดตากฟ้า พระอารามหลวง อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ วิธีดำเนินการวิจัยในการศึกษาประเพณีการทำบุญสลากภัต วัดตากฟ้า พระอารามหลวง เป็นเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีเชิงสำรวจ (Survey Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่จัดทำขึ้นเอง รวบรวมข้อมูลได้จากกลุ่มตัวอย่าง ๓๖๕ คน มาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป การวิเคราะห์ข้อมูลทางสังคมศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ประเพณีการทำบุญสลากในพระพุทธศาสนาเถรวาท ด้านอายุ ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง ๒๕-๓๐ ปี มากที่สุดจำนวน ๑๗๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๙.๐๔ และอายุตั้งแต่ ๓๖-๔๐ ปี ขึ้นไปมีจำนวน ๒๙ คน น้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ ๗.๙๕ ด้านเพศส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ ๖๙.๕๙ เพศหญิงน้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ ๓๐.๔๑ เกี่ยวกับระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด จำนวน ๑๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๖๘ อื่นๆ (ไม่ได้เรียน) น้อยที่สุด จำนวน ๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๕๕ เกี่ยวกับอาชีพ ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างทั่วไปมากที่สุด มีจำนวน ๙๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๕๘ อื่นๆ (เช่นว่างงาน นักบวช) จำนวน ๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๕.๔๘
ความคาดหวังสูงสุด คือ ด้านภาวนามัย ( =๔.๒๑) รองลงมาคือ ด้านศีลมัย ( =๔.๐๘) อันดับ ๓ คือ ด้านทานมัย ( =๔.๐๒)
เมื่อเปรียบเทียบความคาดหวังของพุทธศาสนิกชนต่อประเพณีบุญสลากภัต วัดตากฟ้า พระอารามหลวง อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามอายุ, เพศ, การศึกษา, และอาชีพ, มีความคาดหวังแตกต่างกัน โดยอาศัยตัวแปร ๓ ด้าน ด้านทานมัย, ด้านศีลมัย, ด้านภาวนามัย เท่านั้นที่มีผลต่อความคาดหวังของพุทธศาสนิกชนต่อประเพณีบุญสลากภัต วัดตากฟ้า พระอารามหลวง อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ๐.๐๕
แนวทางอนุรักษ์ และสืบสานประเพณีบุญสลากภัต วัดตากฟ้า พระอารามหลวง ควรจัดให้มีการจัดงานประเพณีบุญสลากภัตเป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ ประเพณีบุญสลากภัตในหลายช่องทางการสื่อสารเพื่อให้ประชาชนเกิดความสนใจที่จะมาร่วมงานมากขึ้น อีกทั้งมีการให้ความรู้แก่เยาวชนในเรื่องของประวัติความเป็นมาของประเพณีบุญสลากภัต และเป็นการสืบทอดประเพณีที่ดีงามของพระพุทธศาสนาต่อไป
ดาวน์โหลด |