หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายเอกชัย ไชยดา
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๓ ครั้ง
การพัฒนากลยุทธ์การตลาดสำหรับสถาบันทางพระพุทธศาสนา:กรณีศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ชื่อผู้วิจัย : นายเอกชัย ไชยดา ข้อมูลวันที่ : ๐๓/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร, ผศ. ดร. ป.ธ. ๙, M.A., Ph.D.
  ดร. อำนาจ บัวศิริ, B.Ed., M.A., Ph.D.
  ดร. วรรณโณ ฟองสุวรรณ, Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

            วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ  (๑) เพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดขององค์กรทางพระพุทธศาสนา (๒) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบของวิธีการตลาดแนวพุทธ ที่มีต่อการพัฒนากลยุทธ์การตลาดของบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย                     มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและ (๓)เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของสภาพแวดล้อมตลาด นโยบาย วิธีการทางการตลาด และช่องทางการสรรหานักศึกษาที่มีคุณภาพเข้าศึกษาที่มีต่อการพัฒนากลยุทธ์การตลาดของบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย               มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

            ผู้วิจัยได้ใช้แนวทางการศึกษาผสมผสานทั้งแบบเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยได้ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดสำหรับการวิจัย จากนั้นจึงสร้างแบบสอบถามโดยที่แบบสอบถามดังกล่าวได้ประยุกต์มาจากแบบสอบถามที่นักวิจัยท่านอื่นทำไว้ก่อนแล้ว แบบสอบถามได้ผ่านกระบวนการทดสอบเพื่อหาความเชื่อมั่นในข้อคำถาม ก่อนนำไปเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชากรซึ่งได้แก่ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน ๒๘๖ รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ หาข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่อไป

            สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งประชากรได้แก่ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ของวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

 

            ผลการวิจัย  พบว่า การนำเอาแนวคิดกลยุทธ์ทางการตลาด มาใช้กับสถาบันทาง         พระพุทธศาสนาอย่างมากมาย การพัฒนากลยุทธ์การตลาดของบัณฑิตศึกษาของ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเป้าหมายในการผลิตมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตให้มีความรู้และความสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้ศึกษาไปทำประโยชน์ให้กับชุมชน สังคม ประเทศชาติและสันติภาพของโลก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย                           มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ใช้โซเซียลมีเดีย (Social Media) เช่น อินเตอร์เน็ต(Internet) จดหมายอิเล็คทรอนิคส์    (E-mail) เป็นต้น เป็นช่องทางหลักในการสรรหานักศึกษา

            ปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ หลักสูตรที่กำลังศึกษา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเงินทุนที่ใช้ในการศึกษา มีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัย          มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปัจจัยต่อไปนี้คือ สภาพการจัดการศึกษา ช่องทางการสรรหานิสิต ความต้องการของนิสิต นโยบายการจัดการศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย               มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ความเห็นของผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกสถานศึกษา วิธีการทางการตลาดยุคใหม่ และวิธีการทางการตลาดแนวพุทธ ส่งผลต่อการพัฒนากลยุทธ์การตลาดของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

                        บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ควรจัดตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่พัฒนากลยุทธ์การตลาดของบัณฑิตวิทยาลัย และพัฒนากลยุทธ์การตลาดของบัณฑิตวิทยาลัย ให้ตรงกับความต้องการของคนในสังคมปัจจุบัน ควรมีการพัฒนาบุคคลากรของบัณฑิตวิทยาลัย  ด้วยวิธีการต่างๆ ควรมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ ให้มากขึ้น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕